Page Header

การวิเคราะห์ความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทย
An Analysis of The Economic Linkage in Thailand’s Automotive Industry

อุทิศ พงศ์จิรวัฒนา, จริยา ศรีทองแดง

Abstract


บทความวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับความเชื่อมโยงของอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทย โดยมีเป้าหมายเพื่อหาแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยเป็นสำคัญและเพื่อทำให้เศรษฐกิจภายในประเทศเติบโตไปพร้อมกัน การศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การศึกษาความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจและค่าตัวทวีคูณทางเศรษฐกิจ โดยใช้เครื่องมือตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิต (Input-Output Table) และใช้ข้อมูลในปี พ.ศ. 2543  2548 และ 2553 ขนาด 180*180 ที่จัดทำโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  การศึกษาในครั้งนี้พบว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยมีการใช้ปัจจัยการผลิตจากสาขาของตนเองมากที่สุด รองลงมา คือ สาขาการผลิตเครื่องยนต์และเครื่องกังหัน สาขาการผลิตผลิตภัณฑ์เหล็กกล้า และอื่นๆ ตามลำดับ และมีการกระจายผลผลิตไปสู่สาขาตนเองมากที่สุด รองลงมา คือ สาขาการซ่อมแซมยานพาหนะทุกชนิด การขนส่งทางบก และอื่นๆ ตามลำดับ ส่วนในด้านความเชื่อมโยงโดยรวม พบว่า สาขาการผลิตยานยนต์มีดัชนีการเชื่อมโยงโดยรวมไปข้างหลังมากว่าค่าเฉลี่ยหรือมากกว่า 1 แสดงว่า สาขาการผลิตยานยนต์มีแนวโน้มที่จะใช้ปัจจัยการผลิตจากสาขาอื่นๆ สูงกว่าค่าเฉลี่ย ในทางตรงกันข้ามดัชนีการเชื่อมโยงโดยรวมไปข้างหน้ามีค่าเข้าใกล้ 1 แสดงว่า สาขาการผลิตยานยนต์มีแนวโน้มที่จะมีการกระจายผลผลิตไปสู่สาขาอื่นๆ ลดลง และจากการศึกษาค่าตัวทวีคูณ พบว่า สาขาการผลิตยานยนต์มีค่าตัวทวีคูณเฉลี่ย 3.73 แสดงว่า หากมูลค่าการผลิตยานยนต์เพิ่มขึ้น 1 % จะทำให้มูลค่าผลผลิตของอุตสาหกรรมทั้งหมดในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น 3.73 % 

 

This research paper was a study on the industrial linkage of automotive industry in Thailand. The goal of this research was to determine ways for promoting and developing Thailand's automotive industry in order to simultaneously grow the domestic economy. The study could be divided into two parts:  economic linkages and economic multiplier. Input-Output Table was used as the research instrument. This research used data of the year 2000, 2005 and 2010 prepared by the Office of the National Economics and Social Development Board. The results of this study showed as follows: The most common used factors of production in Thailand's automotive industry came from its own industry. It was followed by engines and turbines production, Iron and steel and other fields, respectively. Also the most common output spread in Thailand's automotive industry came from its own industry. It was followed by repair of motor vehicles, road passenger transport and other, respectively. In terms of linkage, overall automotive manufacturing field had higher backward linkage index than the average or more than 1. This implied that automotive manufacturing field was prone to use factors of production from other fields more than average.  In contrast, the overall forward linkage index was close to 1, implying that automotive manufacturing field was prone to diminishingly spread its output to other fields. Moreover, the study of multiplier showed that automotive manufacturing field had average multiplier at 3.73. This implied that if the automotive industry production value increased by 1%, production value of all industry would increase by 3.73%.


Keywords


อุตสาหกรรมยานยนต์; ความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ; ตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิต; Automotive Industry; Economic Linkage; Input-Output Table

Full Text: PDF

DOI: 10.14416/j.faa.2019.08.002

Refbacks

  • There are currently no refbacks.