Page Header

ความต้องการแรงงานในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทย
Scientific and Technical Workforce Requirements in Thailand

Chanyut Kolitawong, Chaimongkol Saengow, Poonsak Koseeyaporn, Niwat Moonpa

Abstract


อุตสาหกรรมในประเทศไทยเริ่มต้นมีการพัฒนาอย่างจริงจังหลังจากมีการประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 ในปี พ.ศ. 2504 การพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศไทยสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภทด้วยกัน ได้แก่ 1) อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น 2) อุตสาหกรรมที่ใช้เงินลงทุนเข้มข้น 3) อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีเข้มข้น และ 4) อุตสาหกรรมที่ใช้ความรู้เข้มข้น สัดส่วนของการใช้แรงงานประเภทที่มีทักษะเบื้องต้น (Basic Skilled Workers) ต่อการใช้แรงงานประเภทที่มีทักษะทางเทคนิค (Technical Skilled Workers) ในอุตสาหกรรมจะเป็นตัวกำหนดว่าอุตสาหกรรมนั้นอยู่ในขั้นตอนใดของการพัฒนาประเทศ ดังนั้นปัจจัยที่ส่งผลและเป็นตัวกำหนดขั้นตอนการพัฒนาของอุตสาหกรรมคือ ปัจจัยทางด้านบุคลากร บทความฉบับนี้กล่าวถึงความจำเป็นและความต้องการแรงงานในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศไทย พบว่ากว่าร้อยละ 70 ของการใช้แรงงานในประเทศไทยยังเป็นการใช้แรงงานไร้ฝีมือในขณะที่ความต้องการแรงงานที่มีวุฒิการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูงและระดับปริญญาตรีสาขาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีมีจำนวนมากและกำลังจะขาดแคลนในอนาคตอันใกล้นี้

Thai industry has been growing rapidly since 1961. We classify this development into 4 phases: 1) labor intensive, 2) capital intensive, 3) technology intensive and 4) knowledge intensive. We use proportions of basic skilled workers to technical skilled workers as milestones for the phase indicator. In this paper, we discuss the vitality of workforce in Thai industrial development, specifically scientific and technical workforce. We discover that over 70 percent of Thai labors are non-skilled workers in addition to the immense demand for workforce holding high vocational certificates or university level qualifications.


Keywords



Full Text: PDF

DOI: 10.14416/j.kmutnb.2018.06.006

ISSN: 2985-2145