Page Header

ปัจจัยทางวิศวกรรมที่มีผลต่อการแบ่งประเภทการทำงานของเครนไฟฟ้าเหนือศรีษะตามมาตรฐานสหพันธ์ขนถ่ายวัสดุแห่งสหภาพยุโรป

สุเมธ สถิตบุญอนันต์, วิโรจน์ ฤทธิ์ทอง

Abstract


เครนไฟฟ้าเหนือศีรษะเป็นอุปกรณ์ขนถ่ายวัสดุที่มีบทบาทอย่างมากในงานอุตสาหกรรมใช้เคลื่อนย้ายวัตถุสิ่งของที่มีน้ำหนักในเวลาที่แตกต่างกันทั้งระยะเวลาในการทำงานภายในหนึ่งวันและช่วงเวลาของการเคลือนย้ายวัตถุสิ่งของอย่างต่อเนื่องในแต่ละครั้งของการทำงาน ด้วยการทำงานในเวลาที่มีความหลากหลายบนพื้นฐานของความต้องการที่แตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม ดังนั้นแล้วจึงมีการแบ่งเครนไฟฟ้าเหนือศีรษะออกเป็นกลุ่มศักยภาพการทำงาน การแบ่งกลุ่มจะเน้นไปที่ศักยภาพการทำงานของรอกไฟฟ้าเป็นสำคัญเพราะเป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้ในการยกวัตถุสิ่งของ โดยทั่วไปมาตรฐานสากลที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกในการแบ่งศักยภาพการใช้งานของงานรอกไฟฟ้านั้น มาตรฐานของสมาคมขนถ่ายวัสดุแห่งสหภาพยุโรป หรือที่เรารู้จักกันในนามของ FEM (European Federation of Materials Handling) เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศอุตสาหกรรมในกลุ่มสหภาพยุโรป มาตรฐานนี้ในเบื้องต้นแบ่งรอกออกเป็น 4 กลุ่มประเภทดังนี้ คือ รอกประเภทที่ใช้งานเบา รอกประเภทที่ใช้งานปานกลาง รอกประเภทที่ใช้งานหนัก และรอกประเภทที่ใช้งานหนักมาก ตามลำดับ การแบ่งประเภทของรอกจะแบ่งตามความถี่บ่อยของการใช้งานในช่วงเวลาการทำงานและความหนักเบาของภาระที่ยกซึ่งประเมินได้จากสัดส่วนของน้ำหนักที่ยกจริงต่อน้ำหนักของรอกที่สามารถยกได้ในช่วงเวลาการทำงานของแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมที่แตกต่างกันไป

Electric overhead travelling cranes play an important materials handling role in industry. They are used to move material of varying weights, with varying frequencies , and for varying the lengths of continuous operation. Each industry has different needs in each of these areas. Because of the critical role of overhead travelling cranes, they should not be classified only according to lift capacity. Consideration should be also be given to working potential (hours/times/day) and continuous working ability. In general, the standards that are used around the world to classify electric hoists follow those developed by the FEM (European Federation of Materials Handling). These are widely accepted, especially in the countries of the European Union. This standard is primarily divided into four categories: light duty hoists, medium duty hoists, heavy duty hoists, and very heavy duty hoists. The classification of the hoists within these categories is based on frequency of use (times per day), length of use (hours per time ), and the amount of time during the work that the hoist operates at full load. These allow for proper consideration of the differing needs of each industry.


Keywords



Full Text: PDF

DOI: 10.14416/10.14416/j.kmutnb.2017.06.005

ISSN: 2985-2145