Page Header

การประเมินความต้องการใช้น้ำบาดาลของโครงการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อการเกษตร กรณีศึกษา อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา
Evaluation of Groundwater Requirement of Groundwater Development Project for Agriculture: A Case Study of Nong Boon Mak District, Na

Piramid Puttha, Chatchai Jothityangkoon, Sudchol Wonprasaid

Abstract


ปัจจัยที่สำคัญที่ส่งผลให้ผลผลิตของพืชไร่ เช่น มันสำปะหลัง อ้อย ข้าวโพด เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญคือการให้น้ำตามความต้องการของพืชอย่างเพียงพอ เสริมกับปริมาณน้ำฝนที่ได้รับ ดังนั้นการประเมินศักยภาพของแหล่งน้ำที่สามารถนำมาใช้กับพืชได้อย่างเพียงพอ จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในกระบวนการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร โดยเฉพาะหากเป็นแหล่งน้ำจากน้ำใต้ดิน การศึกษานี้ได้เลือกพื้นที่ 2 หมู่บ้านของอำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา คือ บ้านด่านกอโจดซึ่งกลุ่มเกษตรกรต้องการใช้น้ำเพื่อปลูกมันสำปะหลัง 106 ไร่ และบ้านแสงทองกลุ่มเกษตรกรต้องการใช้น้ำเพื่อปลูกมันสำปะหลัง 46 ไร่ และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 14 ไร่ การประเมินปริมาณน้ำใต้ดินใช้หลายวิธีร่วมกันคือแผนที่น้ำบาดาล การสำรวจทางอุทกธรณีวิทยา และการสูบทดสอบปริมาณการให้น้ำของบ่อบาดาล พบว่ามีอัตราการให้น้ำบาดาล 14 และ 16 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง ที่บ้านด่านกอโจด และบ้านแสงทองตามลำดับ ผลการเปรียบเทียบความต้องการใช้น้ำของพืชที่ต้องการปลูกกับปริมาณน้ำใต้ดินที่สามารถนำขึ้นมาใช้ได้อย่างยั่งยืนร่วมกับปริมาณฝนในปีน้ำมาก ปีน้ำปกติ และปีน้ำน้อย ตามหลักสมดุลของน้ำ พบว่ามีความเป็นไปได้ในการพัฒนาแหล่งน้ำใต้ดินมาใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตร ทั้งนี้หากมีความเปลี่ยนแปรของฝน ทำให้บางปีเป็นปีน้ำปกติและปีน้ำน้อย ปริมาณน้ำใต้ดินไม่เพียงพอ แผนการเพาะปลูกยังสามารถดำเนินการต่อไปได้โดยการเลื่อนเวลาการปลูกและหรือการลดพื้นที่ปลูก


To provide adequate amount of irrigation water, as a supplement to rain water for abundant is a key factor to increase crop yield. Therefore, evaluation of the water resources potential, in particular water from the underground sources appears to be the key first step to improve the overall crop production. This study was conducted in 2 villages in Nong Boon Mak District, Nakhon Ratchasima Province. The chosen villages are Baan Daan Kor Jod and Baan Saeng Thong. Crop water requirement of the former group of farmers is for cassavagrowing areas (106 rai); where as the latter group needs water for the areas of cassava (46 rai) and corn as livestock feed (14 rai). Groundwater yield capacity was estimated by different methods including groundwater yield map, hydrological survey using resistivity method and pumping test. It was found that groundwater capacity is 14 and 16 m3/hr at Baan Daan Kor Jod and Baan Saeng Thong. The comparison results of the water requirements and groundwater supply capacity based on water balance concept confirm the feasibility of groundwater-based irrigation development project. In cope with interannual variability of rainfall and insufficient groundwater storage, production planning can be adjusted by shifting planting schedule or reducing growing area.


Keywords



Full Text: PDF

DOI: 10.14416/j.kmutnb.2017.11.008

ISSN: 2985-2145