Page Header

รูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ควบคุมคุณภาพการผลิตหม้อน้ำอุตสาหกรรม
Potential Development Model for Quality Control Personnel of Boiler Manufacturer

Pariyasut Wattanathum, Somnuk Wisutthipat, Taweesak Roopsing, Preeda Attawinijtrakan

Abstract


งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการเป็นผู้ควบคุมคุณภาพการผลิตหม้อน้ำอุตสาหกรรมและเพื่อพัฒนาและประเมินรูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ควบคุมคุณภาพการผลิตหม้อน้ำอุตสาหกรรม โดยเป็นการวิจัย และพัฒนาตามกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ประกอบการจำนวน 10 ราย และการประชุมสนทนากลุ่มโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 15 ท่าน การรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิจากการแสดงความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 ราย เพื่อวิเคราะห์โดยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป (SPSS) ในการประมวลผลเพื่อหาค่าสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ คะแนนเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ด้วยสมการถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน (Step Wise Multiple Regression Analysis) ผลการพัฒนารูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ควบคุมคุณภาพในการผลิตหม้อน้ำอุตสาหกรรมที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก และ 18 องค์ประกอบย่อยดังนี้ 1) องค์ประกอบหลักด้านทักษะการปฏิบัติงานประกอบด้วย 5 องค์ประกอบย่อย ดังนี้ นโยบายการพัฒนาผู้ควบคุมคุณภาพ บทบาทหน้าที่ผู้ควบคุมคุณภาพที่ชัดเจน เส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพที่ชัดเจน การทำงานเป็นทีม เจตคติที่ดีในตำแหน่งผู้ควบคุมคุณภาพ 2) องค์ประกอบหลักด้านบทบาทการจัดการ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบย่อย ดังนี้ ความซื่อสัตย์รับผิดชอบและจรรณยาบรรณวิชาชีพ การประสานงานกับพนักงานฝ่ายอื่น มีความมุ่งมั่นในการทำงาน มีอำนาจตัดสินใจในการตรวจสอบ ค่าตอบแทนและสวัสดิการ การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ 3) องค์ประกอบหลักด้านความรู้ที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบย่อย ดังนี้ ความรู้เกี่ยวกับกับงานของผู้ควบคุมคุณภาพ ประสบการณ์ในการทำงานที่ต่อเนื่อง ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและมาตรฐานในการผลิตหม้อน้ำ หลักสูตรฝึกอบรมที่ใช้ในการพัฒนาผู้ควบคุมคุณภาพ การคิดวางแผนจัดการปัญหาในรูปแบบใหม่ๆ ผู้ควบคุมคุณภาพได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ผลการประเมินรูปแบบจากการประชุมสนทนากลุ่มโดยผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ประกอบการ พบว่ารูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ควบคุมคุณภาพการผลิตหม้อน้ำอุตสาหกรรมที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมและเป็นไปได้ในการนำไปปรับใช้กับสถานประกอบการผลิตหม้อน้ำอุตสาหกรรม

 

The purposes of this research are to study the successful factor for quality control personnel in manufacturing of boiler industrials and to develop and evaluate a model of potential developing for quality control personnel in manufacturing of boiler industrials. This research was conducted under the method of quantitative and qualitative research. The qualitative research tool was informal questionnaires used for in-depth interview 10 boiler entrepreneurs and focus group with 15 professionals; a group of academician, a group of boiler entrepreneur and a group of Human Resources expert. The other tool was quantitative research using questionnaires which were designed for collecting primary data from 400 boiler entrepreneurs. The research statistics resulted in form of percentage, mean, standard deviation, and multiple regression analysis.The results of a model of potential developing for quality control personnel in manufacturing of boiler industrials that consisted of 3 core factors and 18 sub-factors. There are as follows: 1) operational skill consisted of 5 sub-factors; policies on quality control personnel improvement, role and duty of quality control personnel, role and duty of quality control personnel , career progress, team development, attitude for quality control personnel, 2) Managerial role consisted of 6 sub-factors; honesty and ethics on job, coordinate on job,earnestness on job, authority decision on job, compensation and welfare, performance in communicate, 3) knowledge consisted of 7 sub-factors; knowledge on job, continued work experiences, knowledge of boiler regulation and standard, training curriculum, analytic in problem solving, continued personnel improvement, analytical thinking. The results of model development and evaluation from focus group with experts found that Potential Development Model for Quality Control Personnel of Boiler Manufacturer will have been appropriate and possible to adopting various organizations.


Keywords



Full Text: PDF

DOI: 10.14416/j.kmutnb.2019.09.002

ISSN: 2985-2145