Page Header

พฤติกรรมของผู้สูงอายุในการใช้แอปพลิเคชันไลน์บนสมาร์ตโฟน
Elderly User’s Usage Behavior of LINE Application on a Smartphone

Junjiraporn Thongprasit, Thippaya Chintakovid

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมและปัญหาการใช้งานแอปพลิเคชันไลน์ของผู้สูงอายุ โดยรวบรวมข้อมูลจากการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 16 คน ที่มีอายุระหว่าง55–69 ปี อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และมีประสบการณ์ในการใช้งานแอปพลิเคชันไลน์บนสมาร์ตโฟนกลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมการวิจัยโดยการดำเนินกิจกรรมผ่านแอปพลิเคชันไลน์ จำนวน 12 กิจกรรม ข้อมูลพฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชันไลน์ของกลุ่มตัวอย่างที่เก็บรวบรวมได้ถูกวิเคราะห์ด้วยเทคนิคการสร้างภาพจากข้อมูล ผลจากการศึกษาพบว่าผู้สูงอายุที่มีเพศ อายุ ประสบการณ์ในการใช้งาน และความถี่การใช้งานต่อสัปดาห์ที่ต่างกัน มีพฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชันไลน์ไม่ต่างกัน ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์หลักของการใช้งานเพื่อติดต่อสื่อสารกับเพื่อน ผู้สูงอายุที่ทำกิจกรรมได้สำเร็จส่วนมากเป็นผู้สูงอายุที่ใช้สมาร์ตโฟนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ (Android) กิจกรรมที่ผู้สูงอายุทุกคนสามารถทำได้สำเร็จคือ การส่งสติกเกอร์ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เรียนรู้วิธีการใช้งานแอปพลิเคชันไลน์จากลูกหลาน หากกิจกรรมใดมีขั้นตอนการเข้าถึงที่ยุ่งยากซับซ้อนผู้สูงอายุจะเลือกที่ไม่ทำกิจกรรมนั้น และส่วนใหญ่มักทำเฉพาะกิจกรรมที่ตนเองทำได้และทำเป็นประจำ เช่น การส่งข้อความ การส่งสติกเกอร์ การส่งรูปภาพ เป็นต้น ส่วนกิจกรรมใดที่ไม่เคยทำผู้สูงอายุจะพยายามหาเมนูที่เกี่ยวข้องแต่ไม่กล้าตัดสินใจเพราะกังวลว่าหากทำผิดจะส่งผลกระทบกับข้อมูลในแอปพลิเคชันไลน์ของตนเอง และกิจกรรมใดที่ผู้สูงอายุไม่สามารถทำได้ ส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่าไม่ทราบว่าต้องเลือกที่เมนูใด ดังนั้น การออกแบบแอปพลิเคชันเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงและทำกิจกรรมต่างๆ ได้ ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปพัฒนาแนวทางการออกแบบแอปพลิเคชันเพื่อการสื่อสาร รวมถึงแอปพลิเคชันอื่นๆ ให้เหมาะสมและตรงตามความต้องการของผู้สูงอายุ

The objective of this research was to study behavior of the elderly on using LINE application on smartphone. The data were collected through in-depth interviews and non-participant observation of sixteen participants who were between 55-69 years old living in Bangkok and suburban area with the experience in using the LINE application on a smartphone. The sample group participated in the study by performing twelve activities via the LINE application. The usage behavior collected from the participants was analyzed by a visualization technique. Results of the study found that the elderly with different gender, age, usage experience, and frequency of use per week did not show much difference in the usage behavior of LINE. The primary objective for using LINE of most elderly users was to contact friends. Most of the elderly who successfully performed the tasks employed Android-based smartphones. Sending stickers was one of activities that all participants could carry out successfully. Almost all of them learned how to use the application from their children. The participants would choose not to perform the activity if it was too complex to access. Most of the elderly were likely to perform the activities that they know how to do and perform frequently, for example, sending text messages, sending stickers, sending photos, and etc. For an unfamiliar activity, they would try to find relevant menus; however, they were afraid to make a decision because they were worried that if they made a mistake, their data in the application would be affected. For unsuccessful activities, the elderly stated that they could not perform the task because they could not select the right menu. Therefore, the design of the application is essential in enabling the elderly users to access and perform the task. This research results can be used to develop guidelines for designing a communication application including other applications suitable for the needs of the elderly.


Keywords



Full Text: PDF

DOI: 10.14416/j.kmutnb.2019.07.001

ISSN: 2985-2145