Page Header

การศึกษาวิธีการฉีดขึ้นรูปพอลิเอทิลีนความหนาแน่นสูงผสมสารพอง

ปิยนุช คำฝอย, สุรศิษฐ์ โรจนนันต์, สิริพร โรจนนันต์

Abstract


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการฉีดขึ้นรูปพอลิเอทิลีนความหนาแน่นสูงผสมสารพองด้วยเครื่องฉีดพลาสติกแบบเกลียวสกรูโดยไม่มีการติดตั้งอุปกรณ์เสริมเพิ่มเติม เพื่อประหยัดการใช้วัสดุและลดการยุบตัวของชิ้นงาน ในการทดลองใช้พอลิเอทิลีนความหนาแน่นสูงเกรด H6007JU ผสมสารพองในสภาพของแข็งชนิด Super-cell ร้อยละ 2 โดยน้ำหนักกำหนดวิธีการฉีด 3 วิธีได้แก่ การฉีดโดยไม่ใช้ความดันฉีดย้ำ (Without Packing Pressure) การฉีดโดยใช้ความดันฉีดย้ำ (With Packing Pressure) และการฉีดแบบปล่อยไหลโดยใช้แรงดันฉีดต่ำ (Low Pressure) จากนั้นชั่งน้ำหนักชิ้นงานเพื่อเปรียบเทียบการฉีดทั้ง 3 วิธีวัดความหนาแน่นของชิ้นงาน และศึกษาโครงสร้างจุลภาคของชิ้นงานด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกวาดทดสอบแรงกระแทก ทดสอบแรงดึง และตรวจสอบการยุบตัว ผลการทดลองพบว่าวิธีการฉีดพอลิเอทิลีนความหนาแน่นสูงผสมสารพองโดยไม่ใช้ความดันฉีดย้ำให้ผลดีที่สุดในแง่ของความหนาแน่นต่ำสุดและความสามารถในการรับแรงกระแทกของชิ้นงานดีที่สุดผลการทดลองสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาชิ้นงานที่มีปัญหายุบตัวและชิ้นงานที่ต้องการให้มีน้ำหนักเบาสิ่งที่ได้จากงานวิจัยนี้สามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดวิธีการในการฉีดงานพลาสติกที่มีการเติมสารพองต่อไป

คำสำคัญ: การฉีดขึ้นรูป พอลิเอทิลีนความหนาแน่นสูง สารพอง สมบัติทางกล

Abstract

The objective of this work is to study an injection molding method for high density polyethylene (HDPE) mixed with a chemical foaming agent (CFA) by using reciprocating-screw injection without special equipment for saving materials and reducing sink mark on specimen. In the experiment, there are three methods for injection such as injection without packing-pressure, injection with packingpressure and injection with low injection pressure. Specimens of each injection methods were weighted to make comparison. Densities of specimens were carried out for three positions. Microstructures were characterized by SEM. Impact and tensile testing were examined. Sink marks were investigated. The result indicated that the method of injection without packing pressure is the best in terms of the lowest density and impact resistance. These experiments can be applied to eliminate sink mark problem on part and used for a lightweight part. The result of this research could be adopted useful in plastic injection with filling CFA.

Keywords: Injection Molding Method, High Density Polyethylene, Chemical Foaming Agent, Mechanical Properties


Full Text: PDF

ISSN: 2985-2145