Page Header

การประมวลผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจในผู้ป่วยที่ได้รับการบาบัดการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่มีระดับพาราไทรอยด์ฮอร์โมนสูง

วรวิทย์ รัตนวงษ์, ชิษณุทัศน์ บรรลือโชคชัย, ภัทรวีรินทร์ วรรัฐสุนทร, นันทนา ชปิลเลส, วีระศักดิ์ อัศววงศ์อารยะ

Abstract


บทคัดย่อ
การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมสูงสุดของการบาบัดทดแทนไต แต่อย่างไรก็ตามการมีระดับของพาราไทรอยด์ฮอร์โมนที่สูงจนมีผลต่อการเกิดความผิดปรกติของหัวใจกลับพบว่าเป็นปัญหาที่พบได้บ่อย โดยในปัจจุบันการเฝ้าระวังภาวะการมีพาราไทรอยด์ฮอร์โมนสูงของผู้ป่วยกลุ่มนี้ยังคงใช้การเจาะเลือดตรวจหาอยู่โดยที่ยังไม่มีวิธีการตรวจหาแบบไม่รุกล้าที่เหมาะสม ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้คือการศึกษาเปรียบเทียบค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของคลื่นอาร์ของส่วนประกอบคิวอาร์เอสในกลุ่มผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการบาบัดด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่มีระดับของพาราไทรอยด์ฮอร์โมนปรกติ (กลุ่มพาราไทรอยด์ฮอร์โมน < 300 พิโกกรัมต่อมิลลิลิตร, N-PTH) กับกลุ่มผู้ป่วยที่มีระดับของพาราไทรอยด์ฮอร์โมนสูง (กลุ่มพาราไทรอยด์ฮอร์โมน > 300 พิโกกรัมต่อมิลลิลิตร, H-PTH) โดยลีดสองของคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ถูกบันทึกนาน 15 นาที ด้วยเครื่อง Biopac MP 36 ของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มถูกนาไปวิเคราะห์ในโดเมนเวลาสาหรับหาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานภายในส่วนประกอบคิวอาร์เอส ผลการวิเคราะห์พบว่าในกลุ่มที่มีพาราไทรอยด์ฮอร์โมนสูงมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานต่ากว่าในกลุ่มที่มีระดับของพาราไทรอยด์ฮอร์โมนปรกติ (0.0461 ± 0. 014 vs 0.0931 ± 0.039, p value = 0.001) เมื่อทดสอบหาความแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติด้วยวิธี Mann- Whitney U test ดังนั้นผลของการศึกษาครั้งนี้นอกจากสามารถนาไปใช้ในการคัดกรองผู้ป่วยที่มีระดับของพาราไทรอยด์ฮอร์โมนสูงออกจากผู้ป่วยที่มีพาราไทรอยด์ฮอร์โมนปรกติแล้วยังสามารถใช้ในการติดตามประสิทธิภาพของการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมต่อการกาจัดพาราไทรอยด์ฮอร์โมนด้วย

คาสาคัญ: ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย, การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม,พาราไทรอยด์ฮอร์โมน, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน, คลื่นไฟฟ้าหัวใจ

Abstract
Currently, hemodialysis (HD) is a popular renal replacement therapy for the end stage renal disease (ESRD) patients. However, the hyperparathyroidism inducing cardiovascular system abnormalities has been remaining a serious problem for these patients. Consequently, the development of non-invasive monitoring methods for hyperparathyroidism has been necessary. In this study, the objective is to study and compare the standard deviation (SD) within the QRS duration of the electrocardiogram (ECG) between ESRD patient groups replaced by HD with normal parathyroid hormone (PTH < 300 pg/ml: N-PTH ) and hyperparathyroid hormone (PTH > 300 pg/ml: H-PTH). The 15 minutes of the lead II ECG recorded by Biopac MP 36 from each patient were analysed in the time domain for SD computation within QRS duration. The analysed result showed that the values of SD within QRS duration of H-PTH were statistical significantly lower than those of N-PTH (SD: H-PTH 0.0461 ± 0.014 vs N-PTH 0.0931 ± 0.039, p-value = 0.001) using the Mann- Whitney U test. The benefits of the obtained result are not only the categorizing method for hyperparathyroidism patients but also the dialysis adequacy method for parathyroid hormone elimination of the hemodialysis process.
Keywords: ESRD, Hemodialysis, Parathyroid hormone, Standard deviation, Electrocardiogram


Full Text: PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.