Page Header

การใช้วิธีหาค่าเหมาะสมที่สุดแบบกลุ่มอนุภาคจัดการจราจรข้อมูล ในเครือข่ายโอเอสพีเอฟ

กายรัฐ เจริญราษฎร

Abstract


บทคัดย่อ

ในปัจจุบันระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีบทบาทสำ คัญ มาก เพราะมีความต้องการรับส่งข้อมูลระหว่างเครื่อง คอมพิวเตอร์อย่างแพร่หลาย ซึ่งโพรโทคอลชี้เส้นทางข้าม เครือข่ายในปัจจุบันที่นิยมใช้กันมากที่สุดใน คือ Open Shortest Path First (OSPF) เนื่องจากการที่เครือข่ายที่ใช้ โพรโทคอลชี้เส้นทางโอเอสพีเอฟ หรือเรียกสั้นๆ ว่าเครือข่าย โอเอสพีเอฟนี้มีการใช้อัลกอริทึมในการค้นหาเส้นทางด้วย ตัวเองจึงอาจทำ ให้การจัดเส้นทางการไหลของข้อมูลไม่ตรง กับความต้องการในการใช้งานเครือข่ายนั้นๆ ดังนั้นเพื่อเพิ่ม ความสามารถของระบบเครือข่ายให้สูงขึ้น และลดต้นทุน โดยรวมลง ผู้วิจัยจึงประยุกต์ใช้หลักการความฉลาดแบบกลุ่ม ด้วยวิธีแบบกลุ่มอนุภาค ซึ่งอาศัยรูปแบบวิธีเรียนรู้การหา อาหารของนกในธรรมชาติเพื่อทดสอบหาค่าน้ำ หนักของ เส้นทางในเครือข่ายที่ต้องการ ซึ่งการแก้ไขปัญหาด้วยการ หาค่าน้ำ หนักช่องสัญญาณที่เหมาะสมด้วยวิธีการหาค่า เหมาะสมที่สุดแบบกลุ่มอนุภาคนี้ มีประสิทธิภาพเชิง สมรรถนะที่ดีกว่าการกำ หนดค่าน้ำ หนักแบบดั้งเดิม โดยเฉลี่ยที่1.24เท่าและเมื่อเปรียบเทียบกับการหาคำ ตอบ ที่ดีที่สุดด้วยวิธีโปรแกรมเชิงเส้นพบว่า วิธีกลุ่มอนุภาคนี้ให้ ประสิทธิภาพเชิงสมรรถนะได้ใกล้เคียงวิธีโปรแกรมเชิงเส้น ที่ 94 % แต่มีประสิทธิภาพเชิงเวลาหรือเวลาในการประมวลผล ที่ดีกว่าถึง 25.69 เท่า

คำสำคัญ: ความฉลาดแบบกลุ่ม การหาค่าเหมาะสมด้วยวิธี แบบกลุ่มอนุภาค เครือข่ายโอเอสพีเอฟ

Abstract

Nowadays, computer networks have more important roles and data exchange in networks has been widely used. The most famous Routing Protocols in the system is Open Shortest Path First (OSPF). Because the OSPF routers use ShortestPath algorithm to find its routes, routing of traffic flow does not get together with the traffic requirement of such system. Therefore, in order to increase efficiency and reduce cost of the system. Applying The Particle Swarm Optimization (PSO) in swarm intelligence to solve this problem. Inspired by the schooling patterns of the way that birds forage determine weight of link in the appropriate network. The solution to find the appropriate links’ weight by particle swarm optimization has the better performance than traditional weight set at 1.24 times in average. When Compared to the linear programming method, the performance of the Particle Swarm Optimization is 94% of linear programming method. However, the processing time of the Particle Swarm Optimization is 25.69 times better.

Keyword: Swarm Intelligence, Particle Swarm Optimization (PSO), Open Shortest Path First (OSPF).


Full Text: PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ISSN: 1685-8573