ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีทางอาชีวศึกษา สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ร่วมกับสมาคมศิษย์เก่าคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

Page Header

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแนวโน้มการตัดสินใจใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนการสอน Factors influencing to tendency on making decision use electronic books to teach

มุทิตา นครินทร์

Abstract


การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวโน้มการตัดสินใจใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในการเรียนการสอนของอาจารย์สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร และศึกษาอิทธิพลของปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด ด้านทัศนคติ และด้านผลตอบแทน ที่มีต่อแนวโน้มการตัดสินใจใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนการสอนของอาจารย์สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างคือ อาจารย์ผู้สอนวิชาช่างอุตสาหกรรมในสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร 6 แห่ง ที่สอนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จานวน 39 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)
ผลการศึกษาพบว่า แนวโน้มการตัดสินใจใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนการสอนของอาจารย์สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานครอยู่ในระดับมาก และปัจจัยด้านผลตอบแทนจากการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีผลต่อการตัดสินใจใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนการสอนของอาจารย์สถาบัน การอาชีวศึกษากรุงเทพมหานครอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดและปัจจัยด้านทัศนคติไม่มีผลต่อการตัดสินใจใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียน การสอนของอาจารย์สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร


Keywords


การใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์/ ส่วนประสมทางการตลาด/ ทัศนคติ/ ผลตอบแทน/ อาชีวศึกษา

[1] มนต์ชัย เทียนทอง. (2561). “การใช้เทคโนโลยี
สารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนในยุค
Education4.0” วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระ
นครเหนือ 28 (3), 489-491.
[2] กุสาวดี หัสแดง. (2556). ก้าวใหม่ของ e-book ในยุค
ศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2561, จาก
http://kmlibrary.bu.ac.th/index.php
[3] น้าทิพย์ จรรยาธรรม. (2559). “e-book เพื่อการสอน
วิชาวิทยาศาสตร์”. นิตยสาร สสวท. 44(200), 28-31.
[4] สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560) แผนการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๗๙. สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2561,
จาก http://www.onec.go.th/ index.php/book/BookView/1540
[5] ปรัชญนันท์ นิลสุข. (2560). อาชีวศึกษากับประเทศ
ไทย 4.0 วารสารอาชีวะก้าวไกล 3(2), สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2561, จาก http://prachyanun2015.
blogspot.com/2017/06/40.html
[6] จักรพงศ์ สุวรรณรัศมี. (2552) “ ปัจจัยที่มีผลต่อการนาเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้ในการสอนของครูผู้สอน.” วารสารศึกษาศาสตร์. 20(3), 79-92.
[7] วลัยนุช สกุลนุ้ย. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้สื่อการสอนตามความคิดเห็นของครูศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จังหวัดนนทบุรี. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.
[8] จินตวีร์ คล้ายสังข์. (2555). Desktop Publishing สู่ e-book เพื่อส่งเสริมการใฝ่รู้ของผู้เรียนยุคดิจิตอล. สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[9] พัชรินทร์ พุ่มลาเจียก. (2556). อิทธิพลเชิงสาเหตุที่มีผลต่อพฤติกรรมของผู้ใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์(eBook) ในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญา

บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการตลาด, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
[10] ณัฐสิฏ รักเกียรติวงศ์. (2016). การปฏิรูปอาชีวศึกษของประเทศไทย. สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI ) สืบค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2561, จาก
https://tdri.or.th/2016/08/vocational- education-reform/
[11] ชัยวิชิต เชียรชนะ. (2558). การใช้สถิติหลายตัวแปรเพื่อการวิจัย : การออกแบบ การวิเคราะห์และการตีความหมาย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม.
[12] Chitmittraphap, S. (2010). “Changing world of 21st century learning and development into “Professional teacher” Cited in Laksaneeyanavin S. (Eds). Transformative Learning. Association of Professional Development Teachers and Higher Education Organizations of Thailand. Office of the Higher Education Commission, Ministry of Education.
[13] ลินิน จารุเธียร (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อหนังสือของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะพาณิชศาสตร์และการบัญชี.
[14] ภานุวัฒน์ สัมมาวรกิจ (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเปิดรับแอพพลิเคชั่นในสมาร์ทโฟนของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน, สาขาการบริหารสื่อสารมวลชน.
[15] สุภาภรณ์ แพร์รี่ สังวร งัดกระโทก และนลินี ณ นคร. (2559). “ การประเมินประสิทธิผลการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนนานาชาติ ในกลุ่มทีแซค กรุงเทพมหานคร”. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(1), 1503-1514.
[16] เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2544).e-Learning: ยุทธศาสตร์การเรียนรู้ในอนาคต.มองไกล IFD,7(5),4-8.
[17] เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2533). การบริหารทักษะและการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.
[18] ฉัตรยาพร เสมอใจ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
[19] Tsai, W.C. (2012). A study of consumer behavioral intention to use e-books. The technology acceptance model perspective. Innovative Marketing, 8(4), 55-66.

Full Text: PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


วารสารการอาชีวะและเทคนิคศึกษา จัดพิมพ์ปีละ 2 ฉบับ ระหว่างเดือนมกราคม - มิถุนายน และเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม ทุกปี

ดำเนินการโดย
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีทางอาชีวศึกษา สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
สนับสนุนการดำเนินการโดย
สมาคมศิษย์เก่าครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

http://vetrc.stri.kmutnb.ac.th 

ประเภทของบทความ
ขอบเขตการรับบทความลงพิมพ์ในสาขาอุตสาหกรรม พณิชยกรรม บริหารธุรกิจ เกษตรกรรมและประมง ศิลปหัตถกรรม คหกรรม
อุตสาหกรรมท่องเที่ยว เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทางการศึกษา อุตสาหกรรมศึกษา  เทคโนโลยีอุตสาหกรรม
การจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยี

การเตรียมบทความ

ดาวน์โหลดตัวอย่างการเตรียมบทความได้ที่นี่  http://vetrc.stri.kmutnb.ac.th/2018/JVTE2561.docx

 

วารสารการอาชีวะและเทคนิคศึกษา (ISSN 2229-1806)
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีทางอาชีวศึกษา
สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ได้รับการจัดอยู่ในวารสารฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 2 สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/Evaluation/NewJ/2561/News.html
ตามผลการพิจารณาคุณภาพวารสารที่ต้องการเข้าสู่ฐานข้อมูล TCI ประจำปี พ.ศ. 2561 (25 พ.ค.2561)
วารสารกลุ่มที่ 2 : วารสารที่ผ่านการรับรองคุณภาพของ TCI (จนถึง 31 ธันวาคม 2562) และอยู่ในฐานข้อมูล TCI