ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีทางอาชีวศึกษา สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ร่วมกับสมาคมศิษย์เก่าคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

Page Header

การพัฒนาสื่อดิจิทัลมรดกทางวัฒนธรรมไทย ด้วยแบบจ าลอง 3 มิติ เชิงสถาปัตยกรรม วัดไชยวัฒนาราม ในสมัยกรุงศรีอยุธยา Development of Thai Digital Heritage with 3D Architectural Model Wat Chaiwatthanaram in the Ayutthaya Era

สรชัย ชวรางกูร

Abstract


การพัฒนาสื่อดิจิทัลมรดกทางวัฒนธรรมไทย ด้วยแบบจ าลอง 3 มิติเชิงสถาปัตยกรรม วัดไชยวัฒนารามในอดีตนี้ เป็น งานวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อการวิเคราะห์และสรุปข้อมูลมรดกทางสถาปัตยกรรมไทย วัดไชยวัฒนาราม ในสมัยกรุง ศรีอยุธยาและ 2) เพื่อพัฒนาสื่อดิจิทัลแบบจ าลอง 3 มิติ เชิงสถาปัตยกรรม วัดไชยวัฒนาราม ในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยแบ่ง งานวิจัยออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 วิเคราะห์และสรุปข้อมูลมรดกทางสถาปัตยกรรมไทย วัดไชยวัฒนาราม ในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีขั้นตอนการ ด าเนินงาน ได้แก่ ค้นคว้าเอกสารข้อมูล ศึกษาพื้นที่จริง ศึกษาจากแบบจ าลอง วิเคราะห์และสรุปข้อมูลเป็นภาพสันนิษฐาน วิพากษ์ และประเมินความถูกต้องของเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยระยะนี้ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณสถาน จ านวน 3 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยได้แก่ เอกสารสรุปข้อมูล ภาพสันนิษฐาน 3 มิติ และแบบ ประเมินคุณภาพด้านเนื้อหา การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ และใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) เอกสารข้อมูล และภาพสันนิษฐานมีความถูกต้อง และ 2) คุณภาพด้านเนื้อหา อยู่ใน ระดับมากที่สุด ระยะที่ 2 พัฒนาสื่อดิจิทัลแบบจ าลอง 3 มิติเชิงสถาปัตยกรรม วัดไชยวัฒนาราม ในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีขั้นตอน การด าเนินงาน 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นวางแผนและวิเคราะห์สื่อ 2) ขั้นเตรียมการผลิต 3) ขั้นผลิตสื่อดิจิทัล 4) ขั้นหลังการผลิต 5) ขั้นน าเสนอและประเมินผล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ 1) ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคการผลิตสื่อจ านวน 3 คน ได้มาจากการ เลือกแบบเจาะจง และ 2) นักท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม วัดไชยวัฒนาราม จ านวน 30 คน ได้มาจากการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัย ได้แก่ สื่อดิจิทัลแบบจ าลอง 3 มิติ เชิงสถาปัตยกรรม วัดไชยวัฒนาราม ในสมัยกรุงศรีอยุธยา แบบประเมินด้านเทคนิคการ ผลิตสื่อ แบบประเมินความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) สื่อดิจิทัลมรดกทางวัฒนธรรมไทย วัดไชยวัฒนารามในสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นสื่อวิดีโอที่น าเสนอ ภาพเคลื่อนไหว แบบจ าลอง 3 มิติเชิงสถาปัตยกรรม ประกอบเสียงบรรยาย ความยาวระหว่าง 5-10 นาที ประกอบด้วย 1) ปรางค์ประธาน 2) ปรางค์บริวาร จ านวน 4 ปรางค์ 3) เมรุทิศและเมรุราย จ านวน 8 ปรางค์ 4) ระเบียงคด 5) พระอุโบสถ จ านวน 1 หลัง 6) เจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง จ านวน 2 องค์ 7) เจดีย์อื่นๆ 8) ก าแพงและซุ้มประตู และ 9) ส่วนประกอบอื่นๆ มีผล การประเมินคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด และ 2) นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจในการใช้สื่อดิจิทัลมรดกทางวัฒนธรรมไทย อยู่ใน ระดับมากที่สุด


Keywords


สื่อดิจิทัลมรดกทางวัฒนธรรมไทย แบบจ าลอง 3 มิติเชิงสถาปัตยกรรม  วัดไชยวัฒนาราม

[1] ส านักงานองค์การนครประวัตศิาสตร์จังหวัด พระนครศรีอยุธยาและฝ่ายวิชาการกองโบราณคดี กรม ศิลปากร. (2537) วัดไชยวัฒนาราม.พิมพ์ครั้งที่ 1 , [2] อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ส านักงาน ศิลปากรที่ 3 กรมศลิปากร กระทรวงวัฒนธรรม.(2546). วัดไชยวัฒนาราม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ประชาชน จ ากัด ,
[3] ประทีป เพ็งตะโก. (2537) วัดไชยวัฒนาราม ส านักพิมพ์ กรมศิลปากร, [4] พูนศักดิ์ ธนพันธ์พานิช. (2550) Maya Reference ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ : เอก.พี.ซี.บุ๊ค,. [5] เอื้อมพร หลินเจริญ. (2555) เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมลู เชิงคุณภาพ. วารสารการวัดผลการศึกษา ปีที่ 17 [6] สรชัย พิศาลบตุร. (2549). ส ารวจความพึงพอใจของ ผู้ใช้บริการ ท าได้ง่ายนิดเดียว. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์. [7] ปาริสุทธิ์ สาริกะวณิช (2534). การศึกษาสถาปัตยกรรม วัดไชยวัฒนาราม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบณัฑิต สาขาประวัติศาสตรส์ถาปัตยกรรม ภาควิชาศิลปะ สถาปัตยกรรม บณัฑติวิทยาลยั มหาวิทยาลยัศิลปากร. [8] วิสิทธิ์ บุญชุม. (2549). คอมพิวเตอร์กราฟิก 3 มิติ. วารสารวิทยาศาสตร์ทักษณิ. ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (ม.ค.- มิ.ย.).

Full Text: PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


วารสารการอาชีวะและเทคนิคศึกษา จัดพิมพ์ปีละ 2 ฉบับ ระหว่างเดือนมกราคม - มิถุนายน และเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม ทุกปี

ดำเนินการโดย
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีทางอาชีวศึกษา สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
สนับสนุนการดำเนินการโดย
สมาคมศิษย์เก่าครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

http://vetrc.stri.kmutnb.ac.th 

ประเภทของบทความ
ขอบเขตการรับบทความลงพิมพ์ในสาขาอุตสาหกรรม พณิชยกรรม บริหารธุรกิจ เกษตรกรรมและประมง ศิลปหัตถกรรม คหกรรม
อุตสาหกรรมท่องเที่ยว เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทางการศึกษา อุตสาหกรรมศึกษา  เทคโนโลยีอุตสาหกรรม
การจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยี

การเตรียมบทความ

ดาวน์โหลดตัวอย่างการเตรียมบทความได้ที่นี่  http://vetrc.stri.kmutnb.ac.th/2018/JVTE2561.docx

 

วารสารการอาชีวะและเทคนิคศึกษา (ISSN 2229-1806)
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีทางอาชีวศึกษา
สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ได้รับการจัดอยู่ในวารสารฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 2 สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/Evaluation/NewJ/2561/News.html
ตามผลการพิจารณาคุณภาพวารสารที่ต้องการเข้าสู่ฐานข้อมูล TCI ประจำปี พ.ศ. 2561 (25 พ.ค.2561)
วารสารกลุ่มที่ 2 : วารสารที่ผ่านการรับรองคุณภาพของ TCI (จนถึง 31 ธันวาคม 2562) และอยู่ในฐานข้อมูล TCI