Page Header

Guide for Authors

ข้อมูลสำหรับผู้เขียนและการเตรียมต้นฉบับ (Authors Guideline and Manuscript Preparation)

  • บทความที่วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมพิจารณาตีพิมพ์ต้องไม่เคยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่มาก่อนและไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
  • บทความมีความยาวไม่น้อยกว่า 5 หน้ากระดาษ B5 หรือไม่น้อยกว่า 2500 คำ โดยนับคำด้วยคำสั่ง word count ใน MS Word (ไม่เกิน 15 หน้ากระดาษ) บทความประกอบด้วยชื่อเรื่อง ชื่อผู้เขียน สถานที่ทำงาน การติดต่อผู้เขียน บทคัดย่อ และคำสำคัญ (3 - 5 คำ) โดยเนื้อหาดังกล่าวทั้งหมดต้องจัดเตรียมในรูปแบบภาษาไทย 1 หน้ากระดาษและภาษาอังกฤษ 1 หน้ากระดาษ
  • เนื้อเรื่องของบทความวิจัยประกอบด้วย 5 - 6 ส่วน คือ (1) บทนำ (2) วิธีการดำเนินงานวิจัย/ทดลอง (3) ผลการวิจัย/ทดลองและการอภิปรายผล  (4) บทสรุป (5) กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) และ(6) เอกสารอ้างอิง
  • สำหรับเนื้อเรื่องของบทความวิชาการให้เตรียมเป็นบทความที่เรียบเรียงเนื้อหาจากหนังสือ งานวิจัย ประสบการณ์ หรือเรื่องแปล เพื่อเผยแพร่ความรู้ในสาขาต่างๆ หรือแสดงข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์มีคุณค่าทางวิชาการ โดยองค์ประกอบของบทความวิชาการอาจคล้ายคลึงกับบทความวิจัย แต่ไม่มีเนื้อหาของการดำเนินงานวิจัยและผลการวิจัย ซึ่งผู้เขียนสามารถกำหนดได้เองตามความเหมาะสมของบทความวิขาการ

รูปแบบเอกสารอ้างอิง (References Format)

  • การอ้างอิงในบทความกำหนดให้ใช้การอ้างอิงแบบตัวเลข เช่น [1, 2] หรือ [1-3] เป็นต้น  
  • เอกสารอ้างอิงท้ายบทความทุกฉบับจะต้องมีการอ้างอิงในเนื้อหาบทความที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ
  • เอกสารอ้างอิงให้เขียนเป็นภาษาอังกฤษ สำหรับเอกสารอ้างอิงที่เป็นภาษาไทยหรือภาษาอื่น ให้แปลเป็นภาษาอังกฤษ และใส่ (in Thai) ต่อท้ายเอกสารอ้างอิงนั้น
  • เอกสารอ้างอิงให้เขียนตามรูปแบบของวารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม โดยมีรายละเอียดที่ประกอบด้วย ชื่อ-สกุลของผู้เขียน ชื่อหนังสือหรือชื่อของบทความ ชื่อของเอกสารที่พิมพ์ สำนักหรือสถานที่พิมพ์ ปี เล่มที่(ฉบับที่) และเลขหน้าของบทความที่อ้างอิง
  • เอกสารอ้างอิงที่เป็นมาตรฐานให้ระบุรายละเอียดที่ประกอบด้วย มาตรฐาน เลขที่ ชื่อมาตรฐาน และปีของมาตรฐานที่ใช้อ้างอิง สำหรับเอกสารอ้างอิงที่เป็นเว็บไซต์หรือแหล่งข้อมูลออนไลน์ให้ระบุรายละเอียดที่ประกอบด้วย URL (Universal Resource Locator) ที่เฉพาะเจาะจงของแหล่งข้อมูลออนไลน์และใส่ (Accessed on Date) เพื่อระบุวันที่เข้าถึงแหล่งข้อมูล

ตัวอย่างเอกสารอ้างอิงบทความและงานการประชุม

[1] M. Lertvijitpun, Lamellar tearing in welded steel, The Journal of Industrial Technology, 2007, 3(1), 40 – 45. (in Thai)

[2] A. Kaewvilai, R. Tanathakorn, A. Laobuthee, W. Rattanasakulthong and A. Rodchanarowan, Electroless copper plating on nano-silver activated glass substrate: A single-step activation, Surface and Coatings Technology, 2017, 319, 260 – 266.

 [3] A. Chaichawalit, C. Tippayasam, T. Yingsamphancharoen, S. Sornnil and A. Kaewvilai A semi-automatic welding Machine based on hot air extrusion with preheating function for joining of steel reinforced PE corrugated pipe, The First Materials Research Society of Thailand International Conference (MRS-Thailand 2017), Proceeding, 2018, 114 – 119.

ตัวอย่างเอกสารอ้างอิงหนังสือและวิทยานิพนธ์

[4] M.J. Troughton, Handbook of plastics joining: A practical guide, 2nd Ed., William Andrew Inc., NY, USA, 2018.

[5] A.Kaewvilai, Advanced materials derived from interaction between 3,4-dihydro-1,3,2H-benzoxazine and metal ions, Thesis, Kasetsart University, Thailand. 2017.

ตัวอย่างเอกสารอ้างอิงสิทธิบัตร เว็บไซต์ และมาตรฐาน

[6] J. S. Rhee, S. W. Lee and J. Iamchaturapatr, Apparatus and process for CO2 separation and removal using an absorptive solution containing calcium, Korean Patent, KR1005957920000.

[7] https://www.twi-global.com/technical-knowledge/job-knowledge/defects-lamellar-tearing-047. (Accessed on 29 October 2019)

[8] AWS G1.10M, Guide for the Evaluation Hot Gas, Hot Gas Extrusion, and Heated Tool Butt Thermoplastics Welds, 2001.

[9] TIS 2764-2559, Standard Specification for Steel Reinforced Polyethylene Corrugated Pipe, 2016. (in Thai).

การจัดรูปแบบบทความเพื่อจัดพิมพ์ในวารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ผู้เขียนบทความสามารถจัดรูปแบบบทความตามตัวอย่างที่แสดงใน template ซึ่งทางวารสารได้ทำการตั้งค่าขนาดหน้ากระดาษ รูปแบบหน้าแรก รูปแบบและขนาดตัวอักษร คำอธิบายสำหรับการเขียนบทความ วิธีการเขียนเนื้อเรื่อง รวมถึงเอกสารอ้างอิง รูปแบบตัวอักษรต่างๆ วิธีการใส่รูปภาพ ตาราง ซึ่งผู้เขียนบทความสามารถดาวน์โหลดเอกสารชุดนี้ได้จากเว็บไซต์ของทางวารสารฯ

รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ (Checklist before submitting articles)

ในขั้นตอนการส่งบทความเพื่อเข้ารับการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสาร ผู้นิพนธ์ต้องทำการตรวจทานองค์ประกอบต่างๆ ดังแสดงเป็นรายการต่อไปนี้ ซึ่งหากมีองค์ประกอบใดไม่สมบูรณ์ บทความนั้นๆ ก็จะถูกปฏิเสธการพิจารณาทันที

1. บทความจะต้องไม่เคยได้รับการตีพิมพ์ที่อื่นๆ มาก่อน และจะต้องไม่อยู่ในระหว่างขั้นตอนการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารอื่นๆ

2. บทความและไฟล์ประกอบของบทความที่ส่งมาพิจารณาจะต้องมีการเตรียมรูปแบบและการจัดหน้าตาม ตัวอย่าง ของวารสาร

3. บทความที่ส่งมาพิจารณาต้องเขียนด้วยภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษและอยู่ในรูปแบบไฟล์ Microsoft Word for Windows

4. บทความที่ส่งมาพิจารณาต้องมีการอ้างอิงเอกสารที่เกี่ยวข้องอย่างเพียงพอและเหมาะสมต่อเนื้อหาของบทความ

การส่งบทความ (Submission)

หลังจากที่ผู้นิพนธ์ตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบก่อนการส่งบทความทุกข้อแล้ว ผู้นิพนธ์จะส่งต้นฉบับบทความโดยทำตามขั้นตอนต่อไปนี้

1. จัดเนื้อหาบทความลงใน Template (Thai) หรือ Template (English) ของวารสาร

2. สร้างบัญชีรายชื่อ Register และส่งบทความทางเว็บไซต์ www.ojs.kmutnb.ac.th/index.php/joindtech