Page Header

Publishing Ethics

Publishing Ethics

จริยธรรมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงาน (Publishing Ethics)

นโยบายด้านจริยธรรมการตีพิมพ์และการคัดลอกผลงาน (Publishing Ethics and Plagiarism Policy)

กระบวนการพิจารณาและตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการของวารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเป็นการดำเนินงานที่มีความเกี่ยวโยงอย่างเป็นระบบระหว่างผู้นิพนธ์ ผู้ประเมิน บรรณาธิการ และฝ่ายประสานงานและจัดการ โดยทุกฝ่ายจะทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อรักษามาตรฐานทางจริยธรรมของการตีพิมพ์เผยแพร่บทความ และการทำงานอย่างมีมารยาททางวิชาการ ดังนั้น วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมจึงได้กำหนดความรับผิดชอบทางจริยธรรมของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกภาคส่วน ดังต่อไปนี้

ความรับผิดชอบของบรรณาธิการ (Editors Responsibilities)

1. บรรณาธิการและ/หรือกองบรรณาธิการ มีหน้าที่รับผิดชอบการพิจารณาตรวจสอบบทความที่ส่งเข้ามาเพื่อขอรับการประเมินตีพิมพ์เผยแพร่กับวารสารฯ โดยพิจารณาถึงความสอดคล้องระหว่างเนื้อหาของบทความกับวัตถุประสงค์ของวารสารฯ รวมถึงตรวจสอบความซ้ำซ้อนของผลงาน คุณภาพของบทความในกระบวนการประเมิน และบทความก่อนการตีพิมพ์ โดยคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตัดสินขั้นสุดท้ายสำหรับการพิจารณาอนุมัติให้ตีพิมพ์เผยแพร่บทความที่ผ่านกระบวนการประเมินของวารสารฯ
2. บรรณาธิการพึงรักษามาตรฐานทางจริยธรรมและความโปร่งใสของการวิจัย และจะยินดีรับพิจารณาคำร้องขอการเพิกถอนการตีพิมพ์บทความ หรือแก้ไขคำผิดในบทความ หากได้รับการแจ้งข้อมูลหรือได้รับคำร้องจากผู้นิพนธ์
3. บรรณาธิการต้องดำเนินการพิจารณาบทความและตัดสินใจโดยปราศจากอคติใดๆ เพื่อให้ได้เนื้อหาบทความที่มีคุณภาพและมีคุณค่าทางวิชาการ
4. บรรณาธิการต้องดำเนินการประเมินต้นฉบับบทความบนพื้นฐานคุณค่าทางวิชาการ โดยปราศจากผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
5. บรรณาธิการไม่ควรเผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับบทความที่อยู่ระหว่างการประเมินเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่
6. บรรณาธิการควรดำเนินการตรวจสอบอย่างละเอียดโดยทันที ตามอำนาจหน้าที่อย่างเหมาะสม หากพบข้อสงสัยที่เกี่ยวข้องกับการประพฤติผิดในการวิจัย

ความรับผิดชอบของผู้ประเมิน (Reviewers Responsibilities)

1. ผู้ประเมินควรมีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่สอดคล้องกับบทความ พิจารณาบทความโดยละเอียด สร้างสรรค์ตามหลักและเหตุผลทางวิชาการ โดยคำนึงถึงคุณภาพของบทความเป็นสำคัญ ปราศจากอคติและความคิดเห็นส่วนตัว ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์ และรับผิดชอบการประเมินผลภายในระยะเวลาที่กำหนดจากวารสารฯ
2. ผู้ประเมินดำเนินการประเมินบทความต้นฉบับที่ได้รับทั้งในด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความถูกต้องและคุณค่าทางวิชาการ ความสมบูรณ์ของเนื้อหา โครงสร้างภาษา ความชัดเจนของสมมติฐาน/วัตถุประสงค์ ความถูกต้องของงระเบียบวิธีวิจัยและการอภิปรายผล การจัดระเบียบบทความและการอ้างอิงที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ตลอดจนให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อคุณภาพของบทความ
3. ผู้ประเมินพึงรักษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับบทความที่อยู่ระหว่างการประเมินเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่
4. ผู้ประเมินต้องปราศจากผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ทั้งทางตรงและทางอ้อม หรือเหตุผลอื่นใดที่ทำให้ผู้ประเมินไม่สามารถแสดงข้อคิดเห็นทางวิชาการได้อย่างอิสระ โดยผู้ประเมินควรปฏิเสธการประเมินบทความและแจ้งเหตุผลให้ทางบรรณาธิการได้รับทราบ
5. ผู้ประเมินต้องแจ้งบรรณาธิการ เมื่อพบหลักฐานการกระทำผิดด้านจริยธรรมการวิจัยในบทความที่ประเมิน

ความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ (Authors Responsibilities)

1. ผู้นิพนธ์มีหน้าที่รับผิดชอบเนื้อหาของบทความที่เป็นงานใหม่จากการศึกษาข้อเท็จจริงโดยปราศจากการบิดเบือนข้อมูล และปราศจากข้อมูลอันเป็นเท็จ
2. ผู้นิพนธ์มีหน้าที่รับผิดชอบการส่งบทความเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ โดยบทความที่ขอรับพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารไม่ควรอยู่ระหว่างการพิจารณาจากวารสารอื่นในช่วงเวลาเดียวกันและต้องไม่เคยเผยแพร่ในที่ใดมาก่อน
3. ผู้นิพนธ์ต้องเปิดเผยผลประโยชน์ทับซ้อนที่เกิดขึ้นจากงานวิจัย
4. ผู้นิพนธ์ต้องเขียนกิตติกรรมประกาศให้ชัดเจน รวมถึงระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนงานวิจัย
5. ผู้นิพนธ์ต้องได้รับอนุญาตให้เปิดเผยข้อมูลวิจัยหรือข้อมูลที่เป็นความลับจากองค์กรที่เกี่ยวข้อง
6. ผู้นิพนธ์ที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคน ต้องเป็นผู้ที่ดำเนินการวิจัยและมีส่วนรวมในการดำเนินการวิจัย
7. ผู้นิพนธ์ห้ามส่งบทความที่เขียนให้ผู้อื่นมารับการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารฯ
8. ผู้นิพนธ์มีหน้าที่รับผิดชอบการคัดลอกผลงานของผู้อื่นและการคัดลอกผลงานของตนเอง ซึ่งถือเป็นข้อห้ามของวารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม โดยทุกบทความที่ส่งเข้ามารับการพิจารณาจะต้องผ่านการคัดกรองโดยใช้ซอฟแวร์ตรวจสอบการคัดลอกผลงาน

จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์และสัตว์ (Research Ethics in Human and Animal)

บทความที่ดำเนินการวิจัยในมนุษย์หรือสัตว์ต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการจริยธรรม การวิจัยต้องเป็นไปตามมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้องด้านจริยธรรมของการทดลอง ทั้งนี้ ผู้นิพนธ์ควรระบุว่าขั้นตอนการปฏิบัติเป็นไปตามมาตรฐานทางจริยธรรมของคณะกรรมการที่รับผิดช