การพัฒนาชุดสื่อการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐานเฉพาะอาชีพ หลักสูตรสาขาวิชาเคหบริบาล
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพชุดสื่อการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐานเฉพาะอาชีพ หลักสูตรสาขาวิชาเคหบริบาล ซึ่งมีประเภทหัวข้อคำศัพท์ และเนื้อหาคำศัพท์ จำแนกเป็น 5 ประเภทได้แก่ 1.ประเภทหน่วย/แผนก และสถานที่ต่าง ๆ 2.ประเภทชุดอุปกรณ์ 3.ประเภทวัสดุ-อุปกรณ์
4.ประเภททั่วไป และ 5.ประเภทหมวดชื่อโรคและอาการที่พบทั่วไป ผู้วิจัยได้นำชุดสื่อการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นตามกระบวนการของการออกแบบและพัฒนาชุดสื่อการเรียนการสอนไปทดลองใช้ เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ตามคุณสมบัตินักเรียนที่กำหนดไว้ในหลักสูตรสาขาวิชาเคหบริบาล จำนวน 2 กลุ่ม ๆ ละ 27 คน และ 26 คน รวมทั้งสิ้น 53 คน ผู้วิจัยใช้แผนการทดลองแบบ One – Group Pretest - Posttest Design ให้นักเรียนทำการทดสอบก่อนเรียน (Pretest) หลังจากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้มาคำนวณหาประสิทธิภาพของชุดสื่อการเรียนการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ผลการทดสอบการเรียนการสอนคือ 81.65/80.62 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนมีความแตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .01
The purposes of this study were to develop and evaluate the efficiency of the Instructional Material Package and learning media for Basic English Career Course of Kehaboriban (Housing Care) Curriculum. Instructional Package comprised 5 Type the words contents which
were 1) Departments and units at various locations 2) medical equipments 3) Supplies Medical Equipments 4) General Category and 5) most common symptoms and diseases.
There were 2 groups of samples (27, 26) used in this study. A One – Group Pretest – Posttest Design was used in the experiment. The samples were assigned to take the pretest before learning. The posttest and the learning satisfaction evaluation form were given to the students at the end of the learning. The scores were used to determine the efficiency of the Instructional Material Package and the learning media. Results indicated that the developed curriculum was effective for learning. The efficiency of the learning media was at 81.65/80.62 compared to set standard at 80/80. The difference between the means of the pretest and posttest was significant at the level of .01.
Keywords
Refbacks
- There are currently no refbacks.
--------------------------------------------------------------------------------------------------
© Copyright -สำนักพัฒนาเทคนิคศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
1518 ถนนประชาราษฎร์ 1 แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ10800
โทรศัพท์ : 0-2586-9017, 0-2585-2655, 0-2585-7590
โทรสาร : 0-2585-7590
www.ited.kmutnb.ac.th/ejournal
e-Mail : jtna@kmutnb.ac.th