Page Header

การพัฒนารูปแบบศักยภาพหัวหน้างานปฏิบัติการบินในธุรกิจการบินของประเทศไทยเพื่อการแข่งขัน
Potential Model Development for Chief Crew Flight Attendants of Thailand’s Aviation Business for Competitiveness

Jutharat Pinthapataya, Sakarin Yuphong, Preeda Attavinijtrakarn, Akkarat Poolkrajang

Abstract


การศึกษาเรื่อง การพัฒนารูปแบบศักยภาพหัวหน้างานปฏิบัติการบินในธุรกิจการบินของประเทศไทยเพื่อการแข่งขันมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) กำหนดองค์ประกอบศักยภาพของหัวหน้างานปฏิบัติการบินเพื่อการแข่งขัน 2) พัฒนารูปแบบศักยภาพหัวหน้างานปฏิบัติการบินเพื่อการแข่งขัน และ 3) จัดทำคู่มือแนวทางการเสริมสร้างศักยภาพหัวหน้างานปฏิบัติการบินเพื่อการแข่งขัน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเชิงคุณภาพได้แก่ ผู้บริหารด้านการปฏิบัติการบิน 6 คน ผู้ทรงคุณวุฒิในการประชุมสัมมนากลุ่ม 17 คน และประเมินคู่มือ 8 คน 2) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ กลุ่มหัวหน้างานปฏิบัติการบิน 315 คน จาก 5 สายการบินที่มีการดำเนินกิจการด้านการบินในประเทศไทย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกกึ่งโครงสร้าง การบันทึกข้อมูลการประชุมสัมมนากลุ่มและแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และการประเมินความตรงเชิงเนื้อหา (CVR) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้การวิเคราะห์ทางสถิติโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบศักยภาพหัวหน้างานปฏิบัติการบินเพื่อการแข่งขันประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ 19 องค์ประกอบย่อย ดังนี้ 1) องค์ประกอบด้านการจัดการความรู้ในงาน มี 4 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1.1) การพัฒนาความรู้ 1.2) การนำความรู้ไปใช้ 1.3) การถ่ายทอดความรู้ และ 1.4) การจัดเก็บความรู้ 2) องค์ประกอบด้านการจัดการปฏิบัติงาน มี 3 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 2.1) การวางแผนการปฏิบัติงาน 2.2) การจัดวางการปฏิบัติงาน และ 2.3) การประเมินผลการปฏิบัติงาน 3) องค์ประกอบด้านการพัฒนาองค์กร มี 2 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 3.1) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และ 3.2) การพัฒนาระบบงาน 4) องค์ประกอบด้านการพัฒนาตนเอง มี 4 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 4.1) การพัฒนาความรู้คิด 4.2) การปรับปรุงตนเอง 4.3) การควบคุมตนเอง และ 4.4) การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในงานและ 5) องค์ประกอบด้านการสร้างมนุษยสัมพันธ์ในการทำงาน มี 6 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 5.1) ภาวะผู้นำ 5.2) การสื่อสารในงาน 5.3) ความร่วมมือในการทำงาน 5.4) การทำงานเป็นทีม 5.5) การยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน และ 5.6) การมีจิตบริการคู่มือแนวทางการเสริมสร้างศักยภาพหัวหน้างานปฏิบัติการบินเพื่อการแข่งขัน แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 บทนำส่วนที่ 2 รูปแบบศักยภาพหัวหน้างานปฏิบัติการบินเพื่อการแข่งขัน ส่วนที่ 3 แนวทางการเสริมสร้างศักยภาพหัวหน้างานปฏิบัติการบินเพื่อการแข่งขัน ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบศักยภาพหัวหน้างานปฏิบัติการบินเพื่อการแข่งขัน และคู่มือแนวทางการเสริมสร้างศักยภาพหัวหน้างานปฏิบัติการบินเพื่อการแข่งขัน พบว่า รูปแบบศักยภาพหัวหน้างานปฏิบัติการบินเพื่อการแข่งขันได้รับความเห็นชอบด้วยมติเอกฉันท์ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และคู่มือแนวทางการเสริมสร้างศักยภาพหัวหน้างานปฏิบัติการบินเพื่อการแข่งขันในภาพรวมมีความเหมาะสมต่อการนำไปใช้โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก

The purposes of this study were to identify potential components of chief crew flight attendants for competitiveness; to develop potential model of chief crew flight attendants for competitiveness; and to create a handbook for enhancing potential development of chief crew flight attendants for competitiveness. The study applied mixed methods of qualitative and quantitative approaches. The participants providing qualitative information included 6 airlines executives for in-depth interviews, 17 experts conducting focus groups, along with 8 experts responsible for a thorough handbook evaluation. The quantitative data were obtained from 315 chief crew flight attendants working in 5 Thailand-based airlines. The research instruments were in-depth interviews, questionnaires and records. The qualitative data were analyzed by content analysis and content validity ratio (CVR). For quantitative data, descriptive statistics consisting of frequency, percentage, mean, standard deviation and exploratory factor analysis were explored. As results, the components of potential model development for chief crew flight attendants consist of 5 essential potential components with 19 sub-components as follows: 1) Knowledge Management, embracing 4 constituents: knowledge development, knowledge acquisition, knowledge transfer, and knowledge retention; 2) Operations Management, containing 3 constituents: duty planning, job performance organizing, and job evaluation; 3) Organizational Development, comprising 2 sub-components: human resources, and operational systems development; 4) Self Development, containing 4 sub-factors: cognitive skill development, self-improvement, self-control, and solving in-flight critical problems; 5) Human Relationship Potential component covering 6 sub-components: leadership, in-flight communication, work cooperation, teamwork abilities, flexible in working, and service mind. The potential development handbook for enhancing the chief crew flight attendants potentiality consists of 3 parts: General Introduction, Potential Model Development of chief crew flight attendants, and Potential Development Guidelines. In accordance with the committee appraisals, the potential model development received unanimous agreement for its appropriateness with the high level and the potential development handbook was considered highly appropriate and thus suitable for further application.


Keywords



Full Text: PDF

DOI: 10.14416/j.kmutnb.2018.01.025

ISSN: 2985-2145