Page Header

การทดลองศึกษาสภาวะการอบแห้งปลาของเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบควบคุมอุณหภูมิด้วยการเปิด-ปิดช่องระบายอากาศ
Experimental Study on Drying Conditions of Solar Fish Dryer with Temperature Controlled by Open-closed Ventilating System

Wasan Jeentada, Banyat Niyomvas, Anek Thaikul

Abstract


งานวิจัยนี้เป็นการทดลองศึกษาสภาวะการอบแห้งปลาของเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบควบคุมอุณหภูมิด้วยการเปิด-ปิดช่องระบายอากาศ ทำการทดลอง 3 กรณี คือ กรณีที่ 1 ความเร็วลม 2.5 m/s มีพื้นที่ช่องระบายอากาศ 480 cm2 อบแห้งจนปลามีความชื้นต่ำกว่า 70% มาตรฐานแห้ง กรณีที่ 2 วันแรกความเร็วลม 5.5 m/s มีพื้นที่ช่องระบายอากาศ 480 cm2 วันที่ 2 ความเร็วลม 2.5 m/s มีพื้นที่ช่องระบายอากาศ 480 cm2 กรณีที่ 3 วันแรกความเร็วลม 5.5 m/s มีพื้นที่ช่องระบายอากาศ 4800 cm2 วันที่ 2 ความเร็วลม 2.5 m/s มีพื้นที่ช่องระบายอากาศ 480 cm2 จากผลการทดลองพบว่า การอบแห้งกรณีที่ 3 เป็นสภาวะที่ทำให้อัตราการอบแห้งของการอบแห้งด้วยเครื่องอบแห้งสูงกว่าอัตราการอบแห้งด้วยการตากแดดโดยตรงในช่วง 3 ชั่วโมงแรกของการอบแห้งเพราะขนาดพื้นที่ของช่องระบายอากาศมีผลต่ออัตราการอบแห้งอย่างมีนัยสำคัญคือที่ความเร็วลมในห้องอบแห้งเท่ากันแต่พื้นที่ช่องระบายอากาศ 4,800 cm2 จะมีอัตราการอบแห้งสูงกว่ามีพื้นที่ช่องระบายอากาศ 480 cm2 มีอัตราการอบแห้งในวันแรกอยู่ในช่วง 0.18–0.56 g water/g dry matter h ประสิทธิภาพทางความร้อนของระบบการอบแห้ง 32.18% และการสิ้นเปลืองพลังงานจำเพาะ 2087.72 Wh/kg การอบแห้งในวันแรกด้วยเครื่องอบแห้งพื้นที่ช่องระบายอากาศมากทำให้อุณหภูมิในห้องอบแห้งต่ำแต่ที่อุณหภูมิต่ำนี้ก็ทำให้การอบแห้งด้วยเครื่องอบแห้งมีอัตราการอบแห้งสูงกว่าการอบแห้งที่มีอุณหภูมิสูงแต่มีพื้นที่ช่องระบายอากาศน้อย

This research aims to conduct an experimental study on the solar fish dryer with temperature controlled by open-closed ventilating system. In the experiment, three cases of the study were examined by the different drying conditions The first case including the air velocity of 2.5 m/s and the ventilating area of 480 cm2 were applied to dry the fish until the moisture content below 70% dry basis. The second case was conducted for 2 days. The air velocity of 5.5 m/s and the ventilating area of 480 cm2 were applied to test in first day of the drying time while on the second day, the air velocity of 2.5 m/s and the ventilating area of 480 cm2 were set as the drying condition. For the third case, the drying condition was similar to that of the second case except the ventilating area of 4,800 cm2 was applied in the first day of the drying time. From the experimental results, it can be seen that the third case can provide the faster drying rate than the fish drying the direct sun dry system in the first three hours drying time because the ventilating area plays a significant effect on the drying rate. In other words, at the same velocity, the area of 4,800 cm2 can make the higher drying rate than the ventilating area of 480 cm2 when the dryer with the larger area has a drying rate range of 0.18-0.56 g water/ g dry matter h, thermal efficiency of drying system of 32.18% and specific energy consumption of 2,087.72 Wh/kg. Therefore, in the first day of drying time, the dryer with larger ventilating area providing the lower drying temperature can operate with a higher drying rate than the dryer with smaller ventilating area.


Keywords



Full Text: PDF

DOI: 10.14416/j.kmutnb.2018.06.002

ISSN: 2985-2145