Page Header

การจัดการใช้ไฟฟ้าในกลุ่มตัวอย่างศึกษาสำหรับโรงสีข้าว โรงแรม และโรงน้ำแข็ง
Power Consumption Management of Sample Enterprises in Rice Mill Factories, Hotels and Ice Factories

Nopparat Katkhaw, Wichaphon Fakkaew

Abstract


บทความนี้เป็นการศึกษาศักยภาพในการลดค่าไฟฟ้าด้วยการจัดการใช้ไฟฟ้าเพื่อลดค่าไฟฟ้าของกิจการขนาดกลาง โดยการนำข้อมูลโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคปี พ.ศ. 2558 สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าที่รับแรงดันไฟฟ้า 22–33 กิโลโวลต์ มาวิเคราะห์ นอกจากนี้ยังได้นำข้อมูลค่าไฟฟ้าของกลุ่มกิจการขนาดกลางในเขตภาคเหนือจำนวน 36 แห่ง ประกอบด้วยโรงแรม 12 แห่ง โรงน้ำแข็ง 12 แห่ง และโรงสีข้าว 12 แห่ง มาศึกษาศักยภาพในการลดค่าไฟฟ้าตามแนวทางการจัดการใช้ไฟฟ้าอีกด้วย ซึ่งจากผลการศึกษาโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า พบว่าผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีค่าสัดส่วนการใช้พลังงานไฟฟ้า (kWhP/kWhTotal) ต่ำกว่า 0.4 หรือมีค่าตัวประกอบการใช้ไฟฟ้าต่ำกว่า 0.09 จะมีค่าไฟฟ้าเมื่อคิดจากอัตรา TOU ถูกกว่าอัตราปกติเสมอ และผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทอัตรา TOU สามารถลดค่าไฟฟ้าฐานต่อหน่วยได้สูงสุดประมาณ 25 สตางค์ เมื่อสามารถลดสัดส่วนการใช้พลังงานไฟฟ้าลงได้ 20% ส่วนค่าตัวประกอบการใช้ไฟฟ้าที่เหมาะสมสำหรับการควบคุมค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าพลังไฟฟ้าจะแปรผันกับค่าสัดส่วนพลังไฟฟ้า (PPeak/P) และค่าตัวประกอบการใช้ไฟฟ้าของ PPeak ที่เหมาะสมนั้นไม่ควรจะต่ำกว่า 0.6 จากผลการศึกษาข้อมูลการใช้ไฟฟ้าของกลุ่มตัวอย่างทั้ง 36 แห่ง พบว่ากิจการที่ใช้ไฟฟ้าอัตราปกติเดิม จะมีศักยภาพสูงในการลดค่าไฟฟ้าด้วยการเปลี่ยนประเภทผู้ใช้เป็นอัตรา TOU และกลุ่มกิจการตัวอย่างที่นำมาศึกษาทั้งสามกลุ่ม มีศักยภาพในการลดค่าไฟฟ้าด้วยการเพิ่มค่าตัวประกอบการใช้ไฟฟ้า

This research aims to study a potential of electricity cost saving by power consumption management of the medium enterprises according to the grid at the voltage level of 22–33 kV. The study is conducted by considering for the 2016 tariff rate. To demonstrate the potential of bill saving, the electricity bills of 36 medium enterprises, which are 12 hotels, 12 ice factories, and 12 rice mill factories, in the north of Thailand are analyzed and provided as the management guideline. From the study of the electricity tariff, the results show that any medium enterprise with the electricity energy ratio (kWhP/kWhTotal) lower than 0.4 or the load factor lower than 0.09 always give the electricity bill under TOU rate lower than that under Two-part-tariff. In order to the enterprises using tariff structure based on TOU rate can reduce the energy cost up to a maximum of 0.25 baht/unit, the electric energy ratio (kWhP/kWhTotal) has been decreased by 20%. The appropriate load factor for controlling the demand charge is directly proportional to power ratio (PPeak/P). Then, the appropriate load factor of PPeak should be over 0.6. According to the analysis of those electricity bill samples, the enterprises that use Two-part-tariff show a significant potential to reduce the electricity cost by changing the electricity rate to TOU rate. Furthermore, all samples also provide a high potential to reduce the electricity cost by increasing load factor.


Keywords



Full Text: PDF

DOI: 10.14416/j.kmutnb.2019.09.003

ISSN: 2985-2145