Page Header

ผลของการเผาซ้ำต่อสมบัติเชิงกลและลักษณะทางกายภาพของอิฐดินดิบทนไฟที่ใช้ก่อเตาเผาเซรามิกชนิดใช้ฟืนทางเดินลมร้อนลง
Effect of Repeated Firings on Mechanical and Physical Properties of Unfired Refractory Clay Brick Used as Downdraft Wood Fired Kiln Structu

Apirat Theerapapvisetpong, Thanakorn Wasanapiarnpong, Siriphan Nilpairach, Nithiwach Nawaukkaratharnant

Abstract


เตาเผาแบบทางเดินลมร้อนลงโดยใช้อิฐดินดิบทนไฟเป็นโครงสร้างของเตาที่นิยมใช้ในการเผาผลิตภัณฑ์เซรามิกพื้นบ้านอย่างแพร่หลาย อิฐดินดิบในโครงสร้างเตาเมื่อได้รับความร้อนครั้งแรกมักเกิดการแตกร้าวเนื่องจากการพรุนตัวของอิฐจากการสลายตัวขององค์ประกอบอินทรีย์และน้ำในโครงสร้างดิน นอกจากนี้ยังเกิดจากการได้รับความร้อนไม่เพียงพอที่จะทำให้เกิดกระบวนการเผาผนึกและการได้รับความร้อนไม่เท่ากันระหว่างเนื้ออิฐด้านในกับด้านนอกเพราะอิฐมีความหนามากเกินไป องค์ความรู้จากการศึกษาการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางจุลภาคเมื่อได้รับความร้อนจากผิวสู่ภายในเนื้ออิฐ และการเปลี่ยนแปลงความแข็งแรงต่อแรงอัดและลักษณะทางกายภาพของอิฐเมื่อถูกเผาซ้ำในสภาวะใช้งานจริงจะเป็นประโยชน์ต่อพัฒนาอิฐดิบทนไฟเพื่อการยืดอายุเตาเผาต่อไป รวมทั้งสูตรอิฐดิบที่สามารถคงความแข็งแรงแก่โครงสร้างเตาเผาต่อไปในงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงสมบัติเชิงกลและลักษณะทางกายภาพของอิฐดินดิบที่ใช้ก่อเตาสูตรดั้งเดิมที่มีการใช้งานในปัจจุบันเมื่อผ่านการเผาในสภาวะการใช้งานจริง ตัวอย่างอิฐดินดิบเตรียมจากส่วนผสมดินเหนียวแม่ริม ทราย และแกลบ โดยใช้อัตราส่วนเช่นเดียวกับอิฐดินดิบที่ใช้ก่อเตา ทำการเผาอิฐในเตาชนิดใช้ฟืน เผาซ้ำสูงสุด 3 รอบ ในแต่ละรอบนำตัวอย่างอิฐมาทดสอบสมบัติเชิงกลและลักษณะทางกายภาพ พบว่าที่อุณหภูมิสูงสุดที่วัดได้ในเตาฟืน เท่ากับ 620°ซ ค่าความแข็งแรงเฉลี่ยของอิฐลดลงร้อยละ 42.47 ในการเผาสองรอบแรก แล้วจึงกลับเพิ่มความแข็งแรงขึ้นในรอบที่ 3 ร้อยละ 27.73 เปรียบเทียบกับการเผาครั้งแรก ซึ่งสัมพันธ์กับการลดลงของแกนดำและเฟสไมโครไคลน์ที่บ่งชี้การเกิดกระบวนการออกซิเดชันและการเกิดเนื้อแก้วของส่วนผสมเนื้อดินเกิดเพิ่มขึ้นจากผิวด้านนอกของอิฐสู่ด้านใน

A downdraft wood fired kiln for local pottery production are usually made of unfired refractory clay bricks found various area. When unfired clay bricks as a kiln structure were heated in the first operation, the broken problem usually be found. The organic matter and structural water in the brick were removed between firing, consequently, gave the fired body with weak porous structure. Furthermore, the maximum firing temperature is not high enough to reach the sintering process and the thickness of the brick gives high temperature gradient inside the brick body. The knowledge of microstructure developed by heat transfer from the surface into the body of the brick, which was subjected to fire under real operation condition from green body, will fulfill the development of unfired refractory clay brick to extend the lifetimes of the kiln. The aim of this work is to study the difference of the compressive strength and physical characterization of the brick after fired under real conditions. The brick samples were prepared from the mixture of Mae Rim pottery clay, sand, and rice husk by using the same formula to the common unfired refractory clay brick. The samples were then fired up to 3 times in a downdraft wood fired kiln with common firing schedule for pottery product. The results found that the maximum measured temperature inside the kiln was 620°C. The average compressive strengths of the brick samples after fired in the first and second time was decreased by 42.47%. In contrast the higher average compressive strength was obtained from the third firing bricks which increased by 27.73% compare to the first firing. This increased strength is correlated with the reduction of the black core area and disappearing of microcline crystalline phase to form vitreous phase inside of the brick body.


Keywords



Full Text: PDF

DOI: 10.14416/j.kmutnb.2019.09.008

ISSN: 2985-2145