Page Header

ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการนวัตกรรมในองค์กรของอุตสาหกรรมอาหารพร้อมรับประทาน กรณีศึกษาบริษัท ซีพีแรม จำกัด
The Factors Affecting Innovation Management in Food Industrial Case Study: Cpram Company Limited

Putt Wisidwinyoo, Suwatana Thapjit, Somnoek Wisuttipaet

Abstract


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการนวัตกรรมของพนักงานในองค์กรธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารพร้อมรับประทาน โดยดำเนินการวิจัยด้วยวิธีวิจัยเชิงปริมาณแบบสำรวจภาคสนาม เพื่อการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปร เครื่องมือที่ในการวิจัยคือ แบบสอบถามปลายปิด ซึ่งผ่านการตรวจสอบความแม่นตรงเชิงเนื้อหา (IOC) และทดสอบความเชื่อถือได้โดยวิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (Coefficient Alpha) ของครอนบาก (Cronbach) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) ได้แก่ ทดสอบความแปรปรวนภายใน : T-test F-test (One-Way ANOVA) และวิธีการเปรียบเทียบรายคู่กรณีตามวิธีของ Schaffer การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression) ผลของการวิจัยพบว่า พนักงานมีระดับความคิดเห็นสูงสุดกับด้านนโยบายบริษัทมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ด้านลักษณะของงานที่ทำ และด้านสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน ตามลำดับ ลักษณะชองกลุ่มประชากรที่ส่งผลให้ผลสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการสร้างนวัตกรรมในองค์กรมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ 1) อายุ 2) หน่วยงานที่สังกัด สำหรับตัวแปรความสัมพันธ์ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ 1) เพศ 2) การศึกษา 3) ระยะเวลาการปฏิบัติงานผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการนวัตกรรมขององค์กร พบว่า สมการทำนายดังนี้ Y (การจัดการนวัตกรรม) = 10.218 + 0.440 Xด้านนโยบายบริษัท + 0.382 Xด้านลักษณะของงานที่ทำ + 0.803 Xด้านสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน

The objective of this research is to analyze the factors that affect the innovation management of employees in business organizations, ready-to-eat food industry, conducting research using quantitative research, field survey to analyze the relationship of variables. The tools in research are Closed-end Questionnaire Which has passed the content validity test (IOC) and reliability test by finding the coefficient alpha of Cronbach. By collecting data from a sample of 400 people. Statistics used include Descriptive statistics by finding the frequency, percentage, mean and standard deviation and inferential statistics include internal variance test: T-test, F-test (One-Way ANOVA) and comparison method for Schaffer’s method multiple regression. The results of the research showed that Employees have the highest level of opinion with the company policy, followed by Job Description. And the working environment, respectively. The characteristics of the population groups that result in successful results from innovation in the organization are significantly different 1) Age 2) Affiliated Department. For relationship variables, there was no statistically significant difference 1) Gender 2) Education 3) Duration of work. The results of the analysis of factors affecting the organization's innovation management revealed that the predictive equation is as follows: Y (Innovation Management) = 10.218 + 0.440 Xcompany policy + 0.382 XJob Description + 0.803 XWorking Environment.


Keywords



Full Text: PDF

DOI: 10.14416/j.kmutnb.2019.12.007

ISSN: 2985-2145