Page Header

รูปแบบการพัฒนาศักยภาพของผู้บริหารระดับกลางในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
A Potential Development Framework for Intermediate Managers of the Petrochemical Industry

Panan Thetbanthad, Teeravuti Boonyasopon, Preeda Attavinijtrakarn

Abstract


การศึกษาเรื่องรูปแบบการพัฒนาศักยภาพของผู้บริหารระดับกลางในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของศักยภาพที่จำเป็นในการปฏิบัติงานของผู้บริหารระดับกลางในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี 2) พัฒนาและสร้างรูปแบบศักยภาพของผู้บริหารระดับกลางในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี และ 3) จัดทำคู่มือแนวทางการเสริมสร้างศักยภาพของผู้บริหารระดับกลางในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย1) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ ผู้บริหารระดับสูงในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี 7 คน ผู้ทรงคุณวุฒิในการประชุมสัมมนากลุ่มและประเมินคู่มือ 13 คน 2) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ กลุ่มผู้บริหารระดับกลาง 359 คน จาก 5 บริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่มีการดำเนินกิจการด้านการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีในประเทศไทย เครื่องมือที่ใช้ในนการวิจัยได้แก่แบบสัมภาษณ์เชิงลึกกึ่งโครงสร้าง การบันทึกข้อมูลการประชุมสัมมนากลุ่ม และแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และการประเมินความตรงเชิงเนื้อหา (CVR) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้การวิเคราะห์ทางสถิติโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ผลการวิจัย พบว่ารูปแบบการพัฒนาศักยภาพของผู้บริหารระดับกลางในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก 77 องค์ประกอบย่อยดังนี้ 1) องค์ประกอบด้านการจัดการและกำหนดเป้าหมายของงาน มี 44 องค์ประกอบย่อย 2) องค์ประกอบด้านการประสานงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มี 11 องค์ประกอบย่อย 3) องค์ประกอบด้านการสั่งการและสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพมี 7 องค์ประกอบย่อย 4) องค์ประกอบด้านการวางแผนและพัฒนาองค์การ มี 13 องค์ประกอบย่อย และ 5) องค์ประกอบด้านการควบคุมงานด้วยความร่วมมือ มี 2 องค์ประกอบย่อย คู่มือแนวทางการเสริมสร้างศักยภาพของผู้บริหารระดับกลางในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 บทนำ ส่วนที่ 2 รูปแบบศักยภาพของผู้บริหารระดับกลางในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ส่วนที่ 3 แนวทางการเสริมสร้างศักยภาพของผู้บริหารระดับกลางในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาศักยภาพของผู้บริหารระดับกลางในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี และคู่มือแนวทางการเสริมสร้างศักยภาพของผู้บริหารระดับกลางในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี พบว่ารูปแบบศักยภาพของผู้บริหารระดับกลางในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมสัมมนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้วยมติเอกฉันท์ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และคู่มือแนวทางการเสริมสร้างศักยภาพของผู้บริหารระดับกลางในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในภาพรวมมีความเหมาะสมต่อการนำไปใช้โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากเช่นกัน

The objectives of this study are 1) to examine essential components towards the potential development model for middle-level managers of the petrochemical industry, 2) to design and develop a potential model for the above mentioned group, and 3) to create a practical handbook for strengthening capabilities of the target personnel. Qualitative and quantitative approaches were used in the study. Selected samples for facilitating qualitative data gathering were 7 senior executives in the petrochemical industry who provided significant information and 13 experts who shared their feedback and insights in the focus groups, and handbook evaluation. Quantitative data were collected from 359 middle-level managers from 5 petrochemical companies. Data collection instruments consisted of semi-structured interviews, information recorded and questionnaires. The content validity and the mean CVR across items were examined. Statistics used in analyzing the quantitative data comprised the frequency, percentage, mean and standard deviation. As results, the potential development framework for the intermediate managers of the petrochemical industry is categorized into 5 components with 77 sub-components. The core competence dimensions are 1) management and goal setting (44 sub-components); 2) coordination and knowledge exchange (11 sub-components); 3) effective command and communication (7 sub-components); 4) planning and organization development (13 sub-components); and 5) control and cooperation at work (2 sub-components). The manual for guideline development contains 3 parts: introduction; potential model of middle managers in the petrochemical industry; and capacity development guidelines for the target human resources. In accordance with the focus group assessment, the developed model and potential enhancement handbook were unanimously approved as “highly appropriate.” In particular, the handbook was highly rated in terms of overall suitability and the practicality of its implementation.


Keywords



Full Text: PDF

DOI: 10.14416/j.kmutnb.2020.06.009

ISSN: 2985-2145