Page Header

การออกแบบและเปรียบเทียบพื้นที่หยิบความเร็วสูงสำหรับผลิตภัณฑ์แสงสว่าง
The Designing and Comparing of Fast Picking Area for Lighting Products

Jintachart Chartpanich, Oran Kittithreerapronchai

Abstract


จากสภาพความไม่แน่นอนของความต้องการลูกค้าและเวลาการนำเข้าสินค้า ทำให้ศูนย์กระจายสินค้าเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในการควบคุมการไหลของสินค้าภายในห่วงโซ่อุปทาน ดังนั้นศูนย์กระจายสินค้าจึงมีความจำเป็นต้องเข้าใจและใช้ประโยชน์จากรูปแบบของความต้องการเพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่รวดเร็วและควบคุมต้นทุนการดำเนินการ ดังเช่นศูนย์กระจายสินค้าประเภทไฟฟ้าแสงสว่างกรณีศึกษาซึ่งจัดเก็บและกระจายสินค้าที่ขนาดแตกต่างกัน อีกทั้งยังแตกหักง่ายต้องระมัดระวังในการขนย้าย ด้วยสภาพและธรรมชาติของสินค้าข้างต้นทำให้กิจกรรมหยิบสินค้าเป็นกิจกรรมที่มีชั่วโมงแรงงาน-คนมากที่สุด นอกจากนี้การวิเคราะห์ข้อมูลในเบื้องต้นพบว่า คำสั่งซื้อส่วนใหญ่มีจำนวนรายการสินค้ามากแต่กระจุกเพียงบางแบรนด์เท่านั้น ดังนั้นงานวิจัยฉบับนี้จึงนำเสนอพื้นที่จัดเก็บเฉพาะสินค้าเคลื่อนไหวเร็ว (Fast Picking Area; FPA) สำหรับสินค้าที่มีการหยิบความถี่ในการหยิบสูงและมีขนาดเล็กเพื่อลดเวลาการเดินทางและเวลาการค้นหา การออกแบบพื้นที่ FPA อาศัยแนวคิดของไหลซึ่งลำดับสินค้า จากสัดส่วนระหว่างจำนวนครั้งที่หยิบและรากที่สองของปริมาตรของสินค้าการประเมินการออกแบบและกำหนดค่าพารามิเตอร์ที่เกี่ยวข้องของพื้นที่ FPA ทำโดยสร้างแบบจำลองสถานการณ์แบบมอนติคาร์โล (Monte Carlo) เพื่อวิเคราะห์กิจกรรมที่เกิดขึ้นและเวลาที่ใช้ไปในการดำเนินงานภายในศูนย์กระจายสินค้าแสงสว่างทั้งหมดแห่งนี้

Faced with a fluctuation of demands and a long import lead time, a distribution center has proved to be a strategic infrastructure in a supply chain that regulates a product flow. To ensure a quick response time and affordable operating cost, personnel in a distribution center must understand its distributing patterns and explore them to be able to rapidly respond to customer needs. Meanwhile the operating costs would be handled effectively. An example is demonstrated in a case study lighting product distribution center. Lighting products are varied in sizes and shapes. Some products are fragile and require delicate handling, resulting in the necessity of maximum number of working hours and the greatest number of workers. On the basis of the historical shipping data, a preliminary analysis reveals that just a few brands are generally chosen by customers. Therefore, the aim of this article is to propose a dedicated zone for these popular items, the so-called Fast Pick Area (FPA) to reduce response time, minimizing search for the storage location. By the simplification of relationship between number of visits and cubic volume of each item, candidate items are ranked and storage location can be allocated in an FPA. To evaluate the FPA as well as designed parameters, the procedures are embedded into a Monte Carlo simulation model of entire lighting production distribution.


Keywords



Full Text: PDF

DOI: 10.14416/j.kmutnb.2020.02.002

ISSN: 2985-2145