Page Header

การใช้วัสดุทางการเกษตรในการผลิตแอลกอฮอล์เชื้อเพลิงแข็งและไขมันเชื้อเพลิงอัดแท่ง
The Utilization of Agricultural Residues for Solid Fuel Alcohol and Lipid Fuel Briquette Production

Thamanan Khampha, Thianrawut Dontree, Najjapak Sooksawat, Siritham Singhtho

Abstract


งานวิจัยนี้ศึกษาความเป็นไปได้ของการใช้ของเหลือทิ้งทั้งจากครัวเรือนและอุตสาหกรรมมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ในการศึกษานี้เป็นการผลิตและทดสอบคุณสมบัติทางเชื้อเพลิงของแอลกอฮอล์เชื้อเพลิงแข็ง และไขมันเชื้อเพลิงอัดแท่งที่ผสมวัสดุทางการเกษตร ได้แก่ แกลบ ขุยมะพร้าวและกิ่งมะม่วง จากผลการทดลองพบว่า วัสดุทางการเกษตร ได้แก่ กิ่งมะม่วงสับและแกลบบดมีค่าความร้อน 4,020 และ 3,330 กิโลแคลอรีต่อกิโลกรัม (ตามลำดับ) ซึ่งเหมาะสมต่อการนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงหรือส่วนผสมในการทำเชื้อเพลิง ในการผลิตแอลกอฮอล์เชื้อเพลิงแข็งพบว่าแอลกอฮอล์ที่ไม่ผสมวัสดุทางการเกษตร และแอลกอฮอล์ที่ผสมกิ่งมะม่วง มีค่าความร้อนที่ดีที่สุด (4,820 และ 5,030 กิโลแคลอรีต่อกิโลกรัม ตามลำดับ) แอลกอฮอล์เชื้อเพลิงแข็งที่ผสมกิ่งมะม่วงที่ผลิตได้ เมื่อเก็บเป็นระยะเวลา 1 เดือน มีประสิทธิภาพในเชิงระยะเวลาต้มน้ำเดือด และระยะเวลาที่ทำให้น้ำเดือดคงที่ (291 วินาที) ไม่แตกต่างจากแอลกอฮอล์เชื้อเพลิงแข็งในวันที่ผลิต (233 วินาที) การผสมวัสดุทางการเกษตรช่วยชะลอการลดลงของน้ำหนักของแอลกอฮอล์เชื้อเพลิงแข็งได้ แต่การผสมกิ่งมะม่วงในแอลกอฮอล์แข็งจะทำให้มีค่าเถ้าเพิ่มขึ้นเมื่อเก็บเชื้อเพลิงเป็นเวลา 2 และ 3 เดือน ซึ่งส่งผลต่อคุณสมบัติทางเชื้อเพลิง ในส่วนของการผลิตไขมันเชื้อเพลิงอัดแท่งพบว่าไขมันที่ไม่ผสมวัสดุทางการเกษตรซึ่งมีลักษณะติดไฟยากแต่ให้ค่าความร้อนสูงที่สุด 8,210 กิโลแคลอรีต่อกิโลกรัม ไขมันที่ผสมแกลบมีคุณสมบัติทางเชื้อเพลิงดีที่สุด คือ มีระยะเวลาต้มน้ำจนเดือดน้อยที่สุด (303 วินาที) และระยะที่ทำให้น้ำเดือดนานที่สุด (504 วินาที) เมื่อเทียบกับไขมันที่ผสมขุยมะพร้าวและกิ่งมะม่วง ดังนั้นชนิดของวัสดุทางการเกษตรที่แตกต่างกันให้คุณสมบัติทางเชื้อเพลิงสำหรับเชื้อเพลิงแข็งทั้งแอลกอฮอล์แข็งและไขมันเชื้อเพลิงอัดแท่งที่แตกต่างกัน

This research showed the feasibility of using material residues from household and industry for remanufactured products. Solid fuel alcohol and lipid fuel briquette prepared with agricultural residues (rice husk, coconut coir dust and chopped mango branches) were produced and their fuel properties were tested. The result showed that the agricultural residues with chopped mango branches and rice husk had high heating values of 4,020 and 3,330 kilocalories per kilogram, respectively. The values of these residues indicated good properties particularly for the fuel supply purpose. In comparison, the solid alcohol, without adding any residue and with adding the chopped mango branches, showed high heating value of 4,820 and 5,030 kilocalories per kilogram, respectively. After the 1-month storage of the solid alcohol fuel, the fuel with chopped mango branches show no statistically significant difference in period of rolling boiled temperature (291 seconds), compared with the one obtained from the solid alcohol on the date of production (233 seconds). Adding agricultural residues reduced loss of the net weight of the solid alcohol. However, adding the chopped mango branches showed increasing percentage of ash after storage for 2 and 3 months. This might affect to the fuel property of the solid alcohol. For production of lipid fuel briquette, the result showed that lipid without agricultural residue (control) had the highest heating value (8,210 kilocalories per kilogram). The lipid mixed with rice husk performed thermal property very well with the minimum boiling time (303 seconds) and the greatest rolling boil time (504 seconds) compared to the counterpart mixed with coconut coir dust and chopped mango branches. Thus, different agricultural residues could affect to the fuel and thermal properties of both solid fuel alcohol and solid lipid fuel briquette.


Keywords



Full Text: PDF

DOI: 10.14416/j.kmutnb.2020.02.003

ISSN: 2985-2145