Page Header

การพัฒนารูปแบบศักยภาพพนักงานเข้าใหม่สำหรับธุรกิจอุตสาหกรรมยุคเศรษฐกิจพลิกผัน
Development of New Entry Employees’ Potentiality Model for Industrial Business in the Age of Disruptive Economy

Jutharat Pinthapataya

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) กำหนดองค์ประกอบศักยภาพพนักงานเข้าใหม่เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ธุรกิจอุตสาหกรรมยุคเศรษฐกิจพลิกผัน 2) พัฒนารูปแบบศักยภาพพนักงานเข้าใหม่สำหรับธุรกิจอุตสาหกรรมยุคเศรษฐกิจพลิกผัน เป็นการวิจัยผสมผสานเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ผู้บริหารสถานประกอบการ จำนวน 5 คน ผู้ทรงคุณวุฒิในการประชุมสนทนากลุ่ม 18 คน 2) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ผู้บริหารระดับต้น ประกอบด้วย ผู้จัดการ หัวหน้างาน จำนวน 216 คน จาก 108 สถานประกอบการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกกึ่งโครงสร้าง แบบสอบถาม และแบบประเมินความเหมาะสมรูปแบบศักยภาพพนักงานเข้าใหม่สำหรับธุรกิจอุตสาหกรรมยุคเศรษฐกิจพลิกผัน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้การวิเคราะห์ทางสถิติโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบศักยภาพพนักงานเข้าใหม่สำหรับธุรกิจอุตสาหกรรมยุคเศรษฐกิจพลิกผัน ประกอบด้วย 3 มิติ 5 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) มิติด้านคุณลักษณะส่วนตนมี 2 องค์ประกอบ ได้แก่ จรรยาบรรณในการทำงาน และการปฏิบัติตนในงาน 2) มิติด้านทักษะความสามารถในงาน มี 2 องค์ประกอบ ได้แก่ การประยุกต์รูปแบบการทำงาน และเทคโนโลยีดิจิทัล และ 3) มิติด้านความรู้ความเข้าใจในงาน มี 1 องค์ประกอบ ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจในกระบวนการทำงาน รูปแบบศักยภาพพนักงานเข้าใหม่สำหรับธุรกิจอุตสาหกรรมยุคเศรษฐกิจพลิกผันได้รับความเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิในการประชุมสนทนากลุ่มในภาพรวมด้วยมติเอกฉันท์ด้านความเหมาะสมในการนำไปประยุกต์ใช้อยู่ในระดับมากโดยมีค่าเฉลี่ย 4.11

The purposes of this study were: 1) to identify potential components of new employees for preparing them to work in industrial business in the age of disruptive economy, and 2) to develop a model for improving new employees’ potential for industrial business in the age of disruptive economy. The study applied mixed methods of qualitative and quantitative approaches. The participants for qualitative data in the in-depth interview for 5 industrial business executives, and the participants in the focus group seminar were 18 experts from various businesses. The quantitative data were obtained from 216 administrators composed of managers, supervisors working in 108 enterprises in Bangkok and vicinity. The research instruments were in-depth interview questions, questionnaire and evaluation form for validating the developed model. The qualitative data were analyzed by content analysis and the quantitative data were analyzed by descriptive statistics, i.e. frequency, percentage, mean, standard deviation and exploratory factor analysis. The results revealed that the model to develop new employees’ potential for industrial business in disruptive economy comprised 3 dimensions with 5 components. 1) Working Attributes dimension consisted of 2 components; Work ethics and Self-performance at work, 2) Working Ability Skill dimension consisted of 2 components; Application of working style and Digital technology and 3) Knowledge Apprehension at work dimension consisted 1 component; Knowledge and understanding work processes. The model to develop new employees’ potential for industrial business in disruptive economy was approved by the experts in the focus group seminar with unanimous agreement for its appropriateness in application at high level with the average of 4.11.


Keywords



Full Text: PDF

DOI: 10.14416/j.kmutnb.2020.03.001

ISSN: 2985-2145