Page Header

พัฒนาการพอลิเมอร์ชีวภาพสู่นวัตกรรมพลาสติกรักษ์โลก
Bioplastic: From Research to Innovation and Implementation Against Global Warming

Chaniga Chuensangjun, Nuttawut Kongklom, Malinee Sriariyanun

Abstract


ปัญหาสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากการสะสมของขยะพลาสติกอย่างมากในขณะนี้ ทำให้นานาประเทศทั่วโลกตื่นตัวต่อการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง นอกจากการรณรงค์ให้ลดการใช้พลาสติกที่ผลิตจากกระบวนการทางปิโตรเคมีแล้วการส่งเสริมการพัฒนาวัสดุทางเลือก ได้แก่ พลาสติกชีวภาพจึงเป็นที่สนใจอย่างยิ่งต่อทั้งนักวิจัยในแวดวงวิชาการและนักลงทุนในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมทั่วโลก ส่งผลต่อกระแสรักษ์สิ่งแวดล้อมในประเทศไทย โดยเฉพาะนโยบายจากภาครัฐในการลดการใช้ถุงพลาสติกจากปิโตรเคมีที่ได้เริ่มดำเนินการอย่างจริงจังนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นมาซึ่งสามารถลดจำนวนถุงพลาสติกในท้องตลาดกว่า 20% ของทั้งประเทศ เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็นสังคมปลอดขยะ (Zero Waste Society) ทำให้เกิดการวิเคราะห์ทิศทางและโอกาสทางธุรกิจของนวัตกรรมพลาสติกชีวภาพอย่างแพร่หลายมากขึ้น อาทิ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ว่าความต้องการพลาสติกชีวภาพทั่วโลกจะขยายตัวอย่างรวดเร็วจาก 4% เป็น 40% ภายใน 10 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะตลาดบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่เป็นผลิตภัณฑ์ใช้ครั้งเดียว (Single-use Plastics)

Full Text: PDF

DOI: 10.14416/j.kmutnb.2020.03.002

ISSN: 2985-2145