Page Header

การวิเคราะห์จัดกลุ่มตามลำดับชั้นและแยกประเภทสถานีรถไฟฟ้า กรณีศึกษา สถานีรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล
Hierarchical Clustering Analysis and Classification of MRT Stations: A Case Study of the MRT Chaloem Ratchamongkhon Line

Pontakon Onlamai, Ackchai Sirikijpanichkul

Abstract


รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลเป็นระบบขนส่งมวลชนสายหลักที่มีแนวเส้นทางล้อมรอบเขตเมืองชั้นในของกรุงเทพมหานคร ทำหน้าที่เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายต่าง ๆ ที่เข้าสู่ใจกลางกรุงเทพมหานครในแนวรัศมี รวมไปถึงสถานีรถไฟหัวลำโพงและสถานีกลางบางซื่อในอนาคต จึงเป็นหนึ่งในระบบขนส่งมวลชนที่มีผู้โดยสารนิยมใช้บริการเป็นจำนวนมาก ทั้งในช่วงเร่งด่วนและนอกเวลาเร่งด่วนเพื่อเดินทางเชื่อมต่อที่มีความหลากหลายทั้งในแง่ของคู่จุดต้นทาง-ปลายทางและวัตถุประสงค์ในการเดินทาง ทำให้เป็นที่คาดหมายว่าระบบดังกล่าวจะมีความสำคัญอย่างยิ่งในการรองรับการเดินทางของผู้คนในเขตเมืองในอนาคต เพื่อให้การวางแผนการพัฒนาสถานีรถไฟฟ้าเป็นไปอย่างมีทิศทางที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมบริเวณโดยรอบสถานี งานวิจัยนี้ จึงมีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอการจัดกลุ่มและแบ่งประเภทของสถานีรถไฟฟ้ามหานครด้วยวิธีการวิเคราะห์จัดกลุ่มตามลำดับชั้น โดยอาศัยตัวแปรตาม คือ จำนวนผู้โดยสารเข้าออกสถานีในช่วงเวลาเร่งด่วนเช้าและเย็นในแต่ละสถานี และตัวแปรอิสระ ได้แก่ ปัจจัยแวดล้อมโดยรอบสถานีข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน จากระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และมิเตอร์น้ำจากรัศมีโดยรอบของสถานีในระยะเดินเท้า ข้อมูลจำนวนป้ายและสายรถโดยสารประจำทางที่ผ่านสถานี และเมื่อทำการวิเคราะห์การจัดกลุ่มตามลำดับตามชั้นแล้ว สามารถแยกกลุ่มประเภทของสถานีได้ออกเป็นกลุ่มหลัก ๆ ได้แก่ ย่านพักอาศัย ย่านการทำงานหรือธุรกิจ สถานีสำหรับจุดเชื่อมกับการขนส่งประเภทอื่น ๆ และทำการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแวดล้อมโดยรอบสถานีที่มีต่อปริมาณจำนวนผู้โดยในช่วงเวลาเร่งด่วนเช้าและเย็นในแต่ละสถานี ผลงานวิจัยนี้คาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนเพื่อพัฒนาและปรับปรุงพื้นที่ และการใช้ประโยชน์พื้นที่โดยรอบสถานีอย่างเหมาะสมต่อไป

The MRT Chaloem Ratchamongkhon Line is the main mass transit system that surrounds the inner city of Bangkok. It is the major circular line that serves as a connector among various radial train lines that enter the Bangkok CBD as well as major railway hubs including Hua Lamphong Station and Bang Sue Grand Station. Therefore, it is one of the most crowded transit lines both during the peak and off-peak periods to serve the travel between various origin-destination pairs and travel objectives. It is expected that this mass transit system is going to be an essential line serving the urban traffic. This research is aimed at presenting the grouping and classification of the MRT Chaloem Ratchamongkhon Line stations by hierarchical clustering analysis method. The dependent variable is the number of passengers entering and leaving the station during the morning rush hour at each station. The independent variables are influencing factors including the land-use data around the stations from geographic information system, water users classified by type within the walking distance precinct around the station, the number of bus lines and stops around the stations. The results of analysis demonstrates that the MRT Chaloem Ratchamongkhon Line stations can be clustered into major groups according to its surrounding neighborhood such as residential, work or business areas, and intermodal hubs. The multiple regression analysis is performed to determine the relationship between influencing factors and the number of passengers entering and leaving the station during the rush hours. This research is expected to be useful for development planning of the areas surrounding mass transit stations.


Keywords



Full Text: PDF

DOI: 10.14416/j.kmutnb.2022.11.002

ISSN: 2985-2145