Page Header

การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงเหตุระหว่างปัจจัยคัดสรร ความผูกพันต่อองค์การและประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานในองค์การกลุ่มอุตสาหกรรมท่อเหล็ก

ปราโมช ธรรมกรณ์, สุเทพ บุตรดี, วิเชียร เกตุสิงห์, จิรายุส พู่มนตรี

Abstract


บทคัดย่อ

การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงเหตุระหว่างปัจจัยคัดสรรความผูกพันต่อองค์การและประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานในองค์การกลุ่มอุตสาหกรรมท่อเหล็ก เพื่อพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ผลการวิจัยพบว่า 1) การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยคัดสรร พบว่า ด้านลักษณะงาน ด้านลักษณะองค์การและด้านประสบการณ์ในภาพรวมมีระดับการปฏิบัติงานในระดับค่อนข้างมาก 2) การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับความผูกพันต่อองค์การด้านการบริหาร พบว่า ด้านการบริหารเกี่ยวกับงาน ระเบียบปฏิบัติขององค์การ และบุคลากรในภาพรวมมีระดับการปฏิบัติงานในระดับระดับค่อนข้างมากส่วนด้านการบริหารเกี่ยวกับโอกาสคุณภาพชีวิตรางวัลและค่านิยมและวัฒนธรรมขององค์การในภาพรวมมีระดับการปฏิบัติงานในระดับปานกลาง 3) การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับความผูกพันต่อองค์การด้านพฤติกรรม ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานในองค์การกลุ่มอุตสาหกรรมท่อเหล็ก พบว่า ในภาพรวมมีระดับการปฏิบัติงานในระดับค่อนข้างมาก 4) การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานในองค์การ พบว่า ประสิทธิภาพเกี่ยวกับความรู้และขีดความสามารถ ในภาพรวมมีระดับการปฏิบัติงานในระดับค่อนข้างมาก ส่วนประสิทธิภาพเกี่ยวกับสิ่งกระตุ้น ข้อมูลข่าวสารเครื่องมือในการทำงานและสิ่งกระตุ้นความต้องการ ในภาพรวมมีระดับการปฏิบัติงานในระดับปานกลาง 5) รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันต่อองค์การด้านพฤติกรรมที่มีต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานในองค์การ พบว่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลของความผูกพันต่อองค์การด้านพฤติกรรมที่มีต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานในองค์การมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ 0.835 6) รูปแบบความสัมพันธ์เชิงเหตุระหว่างปัจจัยคัดสรร และความผูกพันต่อองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานในองค์การกลุ่มอุตสาหกรรมท่อเหล็กที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมและสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานในองค์การกลุ่มอุตสาหกรรมท่อเหล็ก

คำสำคัญ: รูปแบบความสัมพันธ์เชิงเหตุ ความผูกผันต่อองค์การ ประสิทธิ์ภาพการปฏิบัติงาน

Abstract

The purposes of this research and development are to develop a causal relationship model using empirical evidence obtained from employees in the steel pipe industry. The results can be summarized as follows: 1) The selected topics on work characteristics, type of organization, and experiences highly affected operational efficiency. 2) The results on the organizational loyalty revealed that work administration, company practice, and personnel (people), highly affected operational efficiency while opportunity, quality of life, total rewards, values, and cultures only fairly influence the independent variable. 3) Organizational loyalty highly affected the operational efficiency of workers in steel pipe industry. 4) Overall, knowledge and capacity showed a significant impact on workers’ operational efficiency. On the other hand, such factors as motive, information, working instrument, and incentive only fairly affected the operational efficiency. 5) The positive and strong relationship between behaviors of organizational loyalty and operational efficiency was indicated at 0.835. 6) The causal relationship model developed for the steel pipe workers was appropriate and can be used to increase the operational efficiency of staffs in this group of industry.

Keywords: The Causal Model, Organizational Commitment, Performance


Full Text: PDF

ISSN: 2985-2145