Page Header

ความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติของพนักงานด้านความปลอดภัยกับพฤติกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานฝ่ายผลิตในอุตสาหกรรมยานยนต์

Montri Chanphet

Abstract


การศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติของพนักงานด้านความปลอดภัยในการทำงานกับพฤติกรรม ด้านความปลอดภัยในการทำงานของฝ่ายผลิตชิ้นส่วนในอุตสาหกรรมยานยนต์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เจตคติของพนักงานด้านความปลอดภัย 2) พฤติกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานฝ่ายผลิตชิ้นส่วนในอุตสาหกรรมยานยนต์ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติของพนักงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ประชากร ได้แก่ พนักงานที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของฝ่ายผลิตชิ้นส่วนในอุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องมือในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถาม (Questionnaire) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D t- test F- test ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ Pearson (Pearson's Correlation Coefficient) ผลการศึกษา พบว่า พนักงานส่วนใหญ่เป็นชาย มีอายุต่ำกว่า 28 ปี มีระยะเวลาปฏิบัติงานน้อยกว่า 5 ปี และมีวุฒิการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี โดยปฏิบัติงานในตำแหน่งพนักงาน ปฏิบัติงานในหน่วยงานเกี่ยวข้องกับการผลิตในอุตสาหกรรมยานยนต์ ผลการศึกษา พบว่า พนักงานมีเจตคติด้านความปลอดภัยในการทำงาน และพฤติกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงานในระดับมากที่สุด และเมื่อจำแนกเป็นรายข้อ พบว่า เจตคติด้านความปลอดภัยในการทำงานอันดับแรก ได้แก่ ความสุขที่ได้ทำงานในสถานที่ที่สะอาดปราศจากเชื้อโรค ส่วน พฤติกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงาน เมื่อจำแนกเป็นรายข้อ พบว่า อันดับแรก ได้แก่ การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่บริษัทจัดให้เมื่อปฏิบัติงาน เจตคติของพนักงานด้านความปลอดภัยในการทำงานมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานฝ่ายผลิตในอุตสาหกรรมยานยนต์ในทิศทางเดียวกันอยู่ในระดับสูงมาก

The study aimed to investigate 1) employees' safety attitudes; 2) safety behavior at work of employees in the automotive manufacturing sector; 3) the relationship between employees' safety attitudes and safety behavior at work of employees in the automotive manufacturing sector. The sample included employees of the vehicle parts and accessories manufacturing industry. The questionnaire served as the instrument for collecting data. Statistical tools for data analysis consisted of frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, F-test, Pearson's Correlation Coefficient. As results, the majority of the workers were male, aged under 28 years, possessing less than five years’ experience, with qualifications below a bachelor degree level. The results revealed that employees' safety attitudes and employees' safety behavior at work were at the highest levels. The highest priority occupational safety attitude was the satisfaction in a clean work environment. The top priority of employees’ behavior at work was the use of personal protective equipment at while working. The relationship between employees' safety attitudes and safety behavior at work was positive in the same direction at the highest level.


Keywords



[1] ทิพวรรณ ศิริคูณ. (2542). คุณภาพชีวิตการทํางานกับความผูกพันต่อองค์การ: กรณีศึกษา บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต], มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

[2] ศิวพร เล็งไพบูลย์. (2545). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้สภาพแวดล้อมในการทำงาน ความเครียดในการทำงาน และความผูกพันต่อองค์การของพนักงานสำรวจที่นั่งของบริษัทการบินไทย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต], มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

[3] Deng, L., Zhong, M., Liao, L., Lai, P. and Lai, S. (2019). Research on Safety Management Application of Dangerous Sources in Engineering Construction Based on BIM Technology. Advances in Civil Engineering, 2019(-), 1-10. https://doi.org/10.1155/2019/7450426

[4] Hinkle, D. E., Wiersma, William, and Jurs, S. G. (2003). Applied Statistics for the Behavioral Sciences. (5th ed.). N.Y.: Houghton Mifflin.

[5] จิณณพัต พูนสวัสดิ์ และ สุพรรณ ปล่องกระโทก. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ปัจจัยเสี่ยงด้านความปลอดภัยกับการปฏิบัติตามหลักการ 5 ส ของพนักงานช่างไฟฟ้า. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต] มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

[6] Katz, D. (1960). The Functional Approach to the Study of Attitudes. Public Opinion Quarterly, 24(2), 163-204.

[7] Belkin Gary S and Skydell R H (1979). Foundation of Psychology. Boston: Hougton Mifflin.

[8] Foster, C. R. (1975). Psychology for Life Adjustment. Chicago: American Technician Society.

[9] Lazareto, Reyes, Joseph Anthony. (2014). Environmental Attitudes and Behaviors in The Philippines. Journal of Educational and Social Research MCSER Publishing. 4(6), 87-102. DOI: 10.5901/jesr.2014.v4n6p87

Full Text: PDF

DOI: 10.14416/j.bid.2021.03.018

Refbacks

  • There are currently no refbacks.