Page Header

การรับรู้ข้อมูลองค์กรของพนักงานใหม่ตามแนวคิด PMQA 4.0 กรณีศึกษา : องค์การมหาชนแห่งหนึ่งที่เน้นการถ่ายทอดและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

Nattira Horpibulsuk, Chattatham Suksamer

Abstract


การรับรู้ข้อมูลองค์กรของพนักงานใหม่ตามแนวคิด PMQA 4.0 กรณีศึกษา : องค์การมหาชนแห่งหนึ่งที่เน้นการถ่ายทอดและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการรับรู้ข้อมูลองค์กรของพนักงานใหม่ที่เริ่มเข้าทำงาน ปี พ.ศ. 2562-2563 โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากร จำนวน 30 คน วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 19 คน อายุระหว่าง 20-30 ปี มีอายุงาน 1 ปี และส่วนใหญ่อยู่ในฝ่ายที่ใช้องค์ความรู้ด้านสังคมศาสตร์ เมื่อพิจารณาการรับรู้ข้อมูลขององค์กรของพนักงานใหม่ (องค์การมหาชน) ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (μ = 3.66) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ ดังนี้ 1) การรับรู้ข้อมูลสภาพแวดล้อมภายในองค์กรภาพรวมอยู่ในระดับมาก (μ = 3.78) 2) การรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะที่สำคัญขององค์กรภาพรวม อยู่ในระดับมาก (μ = 3.77) 3) การรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์องค์กรภาพรวมอยู่ในระดับมาก (μ = 3.73) 4) การรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระดับองค์กรภาพรวมอยู่ในระดับมาก (μ = 3.59) และ 5) การรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับแนวคิดเชิงกลยุทธ์ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (μ = 3.41) สรุปได้ว่า พนักงานใหม่สามารถรับรู้ข้อมูลองค์กรที่ใช้รูปแบบการนำเสนอแบบ PMQA 4.0 ในระดับที่สามารถในไปปรับใช้ในการทำงานได้

The study aimed to explore new employees’ recognition levels of corporate information on the basis of PMQA 4.0. The population consisted of 30 staff members who started working in the year 2019-2020. The research instrument was a set of questionnaire survey. Statistical measures for data analysis encompassed percentage, mean, standard deviation. As results, the majority of respondents were female, aged 20-30 years, possessing one year's experience and pursuing social science career paths. Considering overall factors, new employees’ recognition of corporate information was at a high level, listed in descending order of priority as follows: 1) Perception of organizational environment; 2)Perception and Recognition of overall organizational description; 3) Perception of overall organizational situation, 4) Perception of organizational relationship; and 5 Perception of information of overall strategic context. In conclusion, the new employees were able to recognize corporate information with the implementation of PMQA 4.0. Therefore the policy and procedures were considered applicable in the workplace.


Keywords



[1] Aguinis, H. (2017). Performance Management. (Eds. 4th). New Jersey : Pearson Education.

[2] สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.). (2544). คู่มือการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดีตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี.กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.

[3] สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.). (2564). การประชุมชี้แจงกรอบการประเมินองค์การมหาชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. ก.พ.ร. องค์การมหาชน. https://po.opdc.go.th/content/MTY2Mg.

[4] Baldrige Award (2015, 15 November). Baldrige Excellence Framework: A Systems Approach to Improving Your Organization's Performance. National Institute of Standards and Technology (NIST). https://www.nist.gov/baldrige/2017-2018-baldrige-excellence-framework

[5] แสงเดือน ทวีสิน. (2545). จิตวิทยาการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ไทยเส็ง.

[6] Bloom, B.S. (1956). Taxonomy of Educational Objectives, Handbook: The Cognitive Domain. New York : David McKay.

[7] บุญชม ศรีสะอาด. (2542). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

[8] เอื้อการย์ สันติศิริ. (2545). การสื่อสารกับการรับรู้ต่อการเปลี่ยนแปลงภายในองค์การ: กรณีศึกษา บริษัท โรงพยาบาลไทยนครินทร์ จำกัด. [ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

[9] สุภชา เกรียงไกร และคณะ. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) ของกรมชลประทาน. (โครงการศึกษาวิจัย, ส่วนวิเคราะห์นโยบายกองแผนงาน). กรุงเทพฯ : กรมชลประทาน.

[10] จุฑาจิตร ประดิษฐ์เจริญ และบังอร โสฬส. (2560). บทบาทของอัตลักษณ์องค์การ และความมุ่งมั่นทุ่มเทในการทำงานที่มีต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

[11] มุทิตา คงกระพันธ์. (2554). การศึกษาอิทธิพลของการรับรู้ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การรับรู้การสนับสนุนจากองค์กร ผ่านความผูกพันต่อองค์กร และความพึงพอใจในงานที่มีต่อผลการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

[12] เอกลักษณ์ ธรรมมา และนิตยา สนเธาว์. (2563). ประสิทธิผลการนำนโยบายเกณฑ์การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐไปปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลของเรือนจำกลางเพชรบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

Full Text: PDF

DOI: 10.14416/j.bid.2021.03.022

Refbacks

  • There are currently no refbacks.