Page Header

การปรับปรุงกระบวนการรับและการตรวจนับสินค้าขาเข้า กรณีศึกษา บริษัท ดีพลัส อินเตอร์เทรด จำกัด จังหวัดสมุทรปราการ
Process Improvement of goods Receiving and Quantity Checking: A Case Study of D Plus Intertrade Co., Ltd. Samut Prakan

Chitsanu Pakdeewanich, Weeraya Yingtong

Abstract


การศึกษาการปรับปรุงกระบวนการรับและตรวจนับสินค้าขาเข้า กรณีศึกษา บริษัท ดีพลัส อินเตอร์เทรด จำกัด มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการรับและการตรวจนับสินค้าขาเข้า 2) เพื่อปรับปรุงกระบวนการรับและการตรวจนับสินค้าให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จากการศึกษาในส่วนของกระบวนการรับและการตรวจนับสินค้า ปัญหาที่พบคือ ความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นจากการรอคอย สินค้าที่รอการเคลื่อนย้ายและสินค้าที่รอการตรวจนับ เนื่องจากมีพื้นที่ในการตรวจนับสินค้าไม่เพียงพอ และขั้นตอนการนับสินค้าใช้ระยะเวลานาน ปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานด้านอื่นๆ ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาโดยการเก็บเวลาการทำงานทั้ง 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนการรับสินค้าและขั้นตอนการตรวจนับสินค้า จากนั้นผู้วิจัยได้นำหลักการลดความสูญเปล่าด้วย ECRS มาประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงกระบวนการ และนำแนวคิด 5ส. มาช่วยในการปรับปรุงในส่วนของสภาพพื้นที่หน้างานให้อยู่ในสภาพที่ง่ายต่อการทำงาน ผลการวิจัย พบว่า ขั้นตอนการทำงานลดลง จากเดิม 25 ขั้นตอน เป็น 19 ขั้นตอน หรือลดลงคิดเป็นร้อยละ 24 เวลาการรับสินค้าลดลงจากเดิม 153.40 นาที เป็น 120 นาที หรือลดลงคิดเป็นร้อยละ 59.41 และกรณีที่ใช้สายพานลำเลียงทดแทนแรงงาน สามารถลดต้นทุนการรับสินค้าต่อกล่องจากเดิม 1.49 บาท เป็น 1.18 บาท หรือลดลง 0.31 บาท และผลการปรับปรุงกระบวนการทำให้สภาพการทำงานมีความสะดวกยิ่งชื้น

This study aimed to: 1) examine the processes of receiving and counting incoming goods 2) improve the process of receiving and counting products to be more efficient. The study took place at D Plus Intertrade Co., Ltd. Samut Prakan. Upon examining the process of receiving and counting goods, the problems showed waste arising from waiting for goods to be received and counted because of the insufficient space and the counting process which in turn resulted in long time consuming. These problems affected the other working systems. The researchers recorded the working time of both processes, i.e. the steps in the process of receiving and counting the goods. To improve the processes, the researchers applied ECRS, the principles of reducing wastage, and the 5S to fix the space problems. The results of the process improvement showed that the workflow was reduced from the original 25 steps to 19 steps or decreased by 24 percent. The time of receiving the product decreased from 153.40 minutes to 120 minutes or decreased by 59.41%. In the case of using conveyor belts to replace labor force can reduce the cost of receiving products per box from 1.49 baht to 1.18 baht or a 0.31 baht reduction. In addition, the solution improved the working condition as it seemed to be more convenient to work.


Keywords



[1] พีรศักดิ์ วิทยเจริญพงษ์. (2556). ต้นทุนโลจิสติกส์ชองกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวก่าในพะเยา [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

[2] บรรหาญ ลิลา. (2553). การวางแผนการควบคุมการผลิต (พิมพ์ครั้งที่1). กรุงเทพฯ: ท้อป

[3] จุฑารัตน์ นิตยานนท์. (2558). การลดของเสียในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาโทที่ไม่มี การตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยสยาม.

[4] Kanchanapanyakom R. (2007). Industrial Work Study. Bangkok: Top.

[5] ลักขณา ฤกษ์เกษมและชนิภา นิวาสานนท์. (2562). การประยุกต์ใช้การผลิตแบบลีน ในโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าแฟชั่น. วารสารวิจัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 2(2), 45-46.

[6] ณัฐกันต์ อ้วนวิจิตร. (2553). การปรับปรุงการทำงานในสายการผลิต กรณีศึกษา: แผนกเย็บ บริษัท ไนซ์แอพพาเรล จำกัด [วิทยานิพนธ์ปริญญาโทที่ไม่มีการตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

[7] สุพนิดา ใคร่ครวญ และพนิตพร ศุภพาณิชย์. (2561). การปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดการสินค้าคงคลังกรณีศึกษา บริษัท แอเรียล คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด [ปริญญานิพนธ์ที่ไม่มีการตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

Full Text: PDF

DOI: 10.14416/j.bid.2022.03.001

Refbacks

  • There are currently no refbacks.