Page Header

การศึกษาความต้องการการฝึกอบรมและการพัฒนาอัตลักษณ์ของผู้สืบทอดตำแหน่ง กรณีศึกษา: บริษัท อมรินทร์ บุ๊ค เซนเตอร์ จำกัด
Business Successors' Training and Identity Development: A Case Study of Amarin Book Center Company Limited

Chedthida kusalasaiyanon, Pramoch Thammakorn, Pearchumpoo Tubtimthong

Abstract


การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการการฝึกอบรมและการพัฒนาอัตลักษณ์ของผู้สืบทอดตำแหน่งในธุรกิจจัดจำหน่ายสื่อสิ่งพิมพ์ กรณีศึกษา : บริษัท อมรินทร์ บุ๊ค เซนเตอร์ จำกัด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ พนักงานบริษัท อมรินทร์ บุ๊ค เซนเตอร์ จำกัด จำนวน 267 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามผลการศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการการฝึกอบรมของผู้สืบทอดตำแหน่ง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าเรียงตามลำดับความสำคัญจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ 1) ด้านการฝึกอบรม : รูปแบบและวิธีการในการจัดฝึกอบรม (PNI = 0.20) 2) ด้านวิทยากร : คุณวุฒิ ความรู้ ความเชี่ยวชาญตรงตามเนื้อหาที่สอน และมีความสามารถในการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ (PNI = 0.17) ส่วนผลแนวทางการพัฒนาอัตลักษณ์ของผู้สืบทอดตำแหน่ง พบว่า เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงตามลำดับความสำคัญมากไปหาน้อยได้ดังนี้ 1) ด้านความเป็นมิตร: การมีบุคลิกภาพและทัศนคติเชิงบวก และการมีความมุ่งมั่นทุ่มเทในการปฏิบัติหน้าที่ให้ประสบความสำเร็จ (PNI=0.18) 2) ด้านความสำเร็จ: การมีความมุ่งมั่นทุ่มเทในการปฏิบัติหน้าที่ให้ประสบความสำเร็จ (PNI=0.18) 3) ด้านความว่องไว: การมีความกระตือรือร้นในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย (PNI=0.17) และ 4) ด้านการใฝ่รู้: การเข้าร่วมกิจกรรม หรือการฝึกอบรมที่บริษัทจัดขึ้นอยู่เสมอ (PNI=0.17)

This reserch aims to study the training and identity development of the budding successors of a print media distribution business, i.e. Amarin Book Center Co., Ltd. The study sample was 267 company employees. A questionnaire served as a tool for data collection. The results revealed employees’ attitude towards training development, which consisted of these essential aspects in a descending order: 1) Training: format and method of training. (PNI = 0.20) 2) Instructors: qualifications, mastery of knowledge, expertise and content-specific skills, and the ability to create a productive learning environment (PNI =0.17). In respect of attitudes towards successors’ identity development, the prioritization framework featured these personality dimensions: 1) Affability: having a positive personality and attitude with staunch determination to achieve goals (PNI = 0.18); 2) Successful goals: a commitment to exert effort toward task accomplishment (PNI = 0.18); 3) Responsiveness: enthusiasm for assigned duties and responsibilities (PNI = 0.17); and 4) Thirst for knowledge: regular participation in employee training programs and activities of the organization. (PNI = 0.17).


Keywords



[1] ธันยนันท์ พลทองสถิต และศิวัช ศรีโภคคางกุล. (2562). การวางแผนสืบทอดตำแหน่งทางการบริหารกรณีศึกษากลุ่มภารกิจอำนวยการโรงพยาบาลขอนแก่น. veridian e-journal silpakorn university Humanities, Social Sciences, and Arts, 12(6), 1933-1937.

[2] อมรินทร์ กรุ๊ป. (ม.ป.ป). ข้อมูลบริษัท. Amarin. https://amarin.co.th/investor/company-information/amarinbook

[3] Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. (1970). Determination Sample Size for Research Activities. Education and Psychology Measurement, 30(3), 607-610.

[4] สุวิมล ว่องวาณิช. 2558. การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

[5] อนุชาติ ปิยนราวิชญ์. (2559). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กับประสิทธิผลองค์การของสํานักงานเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก.

[6] กฤติยา จินตเศรณ. (2557). การบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ของสายสนับสนุนวิชาการเพื่อรองรับการเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย ของมหาวิทยาลัยบูรพา. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

[7] พัชริดา เอี่ยมสุนทรชัย. (2559). การประเมินผลโครงการฝึกอบรมผู้บริหาร. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

[8] สุรัชนี เคนสุโพธิ์. (2560). การฝึกอบรมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. http://portal5.udru.ac.th/ebook/pdf/upload/186e5h69UCyt5gU3y755.pdf

[9] ชัยวัฒน์ จิวพานิชย์ และชัยวัฒน์ วารี. (2554). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการสร้างบทเรียน ออนไลน์ โดยใช้ LMS Moodle เพื่อการเตรียมความพร้อมในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. http://www.ssruir.ssru.ac.th/bitstream/ssruir/496/1/065-54.pdf

[10] ชนกานต์ สมานมิตร. (ม.ป.ป.). การฝึกอบรม. https://blog.nsru.ac.th/60111806020/7038

[11] รัตนา ปฏิสนธิเจริญ. (2555). ความต้องการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในสังกัดมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

[12] เจิดจันทร์ พลดงนอก. (2555). การพัฒนาระบบการฝึกอบรมออนไลน์แบบสอนงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการผู้ใช้เทคโนโลยีธนาคารพาณิชย์. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 6(1), 385-398

[13] ตราวดี อินทรักษ์. (2563). การวางแผนสืบทอดตำแหน่งหัวหน้าพยาบาลของหัวหน้าพยาบาล โรงพยาบาลชุมชนเขตบริการสุขภาพที่ 11. [สารนิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Full Text: PDF

DOI: 10.14416/j.bid.2022.11.004

Refbacks

  • There are currently no refbacks.