Page Header

การศึกษาความเข้มข้นของเครือหมาน้อยและความเหมาะสมของปริมาณน้ำตาลในผลิตภัณฑ์เยลลี่เครือหมาน้อยพร้อมดื่มเพื่อสุขภาพ
Optimization of Krueo Ma Noy Concentration and Sugar Amount in the Health Jelly Beverages

Jaruwan Motajit, Ruchikan Seng-iat, Chaowalit Auppathak

Abstract


การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ: 1) ศึกษาความเข้มข้นของเครือหมาน้อยที่เหมาะสมในผลิตภัณฑ์เยลลี่พร้อมดื่มต่อน้ำเปล่า และ 2) ศึกษาปริมาณความหวานจากน้ำตาลที่เหมาะสมในผลิตภัณฑ์เยลลี่พร้อมดื่ม และ3) เพื่อประเมินผลการทดลองส่วนผสมของเครือหมาน้อยและปริมาณความหวานในผลิตภัณฑ์เยลลี่เครือหมาน้อยพร้อมดื่ม ใช้วิธีการศึกษาโดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ (Randomized Complete Block Design, RCBD) ทำการประเมินทางประสาทสัมผัสในด้านลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม ด้วยวิธีการชิมแบบให้คะแนนความชอบ 9 ระดับ (9-Point Hedonic scale) จำนวนผู้ชิม 80 คน ผลการศึกษา พบว่า1) การประเมินทางประสาทสัมผัสในปริมาณความเข้มข้นของเครือหมาน้อยที่เหมาะสม ผู้ชิมให้การยอมรับสูตร 1:2 ในด้านลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวมอยู่ระดับ 8.05 7.88 7.88 8.08 8.23 และ 8.48 ตามลำดับ และพบว่า ในด้านลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) การประเมินทางประสาทสัมผัสในปริมาณความหวานจากน้ำตาลที่เหมาะสม ผู้ชิมให้การยอมรับสูตรที่ 20 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณน้ำตาล ในด้านลักษณะที่ปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ (ความหวาน) เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวมอยู่ที่ระดับ 7.68 7.59 7.61 7.80 7.75 และ 7.80 ตามลำดับ และพบว่าในด้านลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ (ความหวาน) เนื้อสัมผัสและความชอบโดยรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แสดงว่า ปริมาณความเข้มข้นของเครือหมาน้อยในเยลลี่ที่ยอมรับ คือ สูตร 1:2 และ ปริมาณน้ำตาลคือ 20 เปอร์เซ็นต์ มีความเหมาะสมในการเป็นเครื่องดื่มเยลลี่เครือหมาน้อยพร้อมดื่มเพื่อสุขภาพ

The objectives of this study were 1) to explore the optimal Krueo Ma Noy concentration ratio with water for ready-to-drink gel beverages; 2) to determine the appropriate sweetness in the jelly product, and 3) to assess the experiment results on sensory perception of the product. A randomized complete block design (RCBD) trial was planned to assess sensory quality in terms of appearance, color, smell, taste, texture and overall preference. The 9-Point Hedonic scales were rated by 80 taster participants. The results of the study were as follows: 1) The sensory perceptual test revealed that the tasters accepted the 1:2 concentration formula regarding appearance, color, smell, taste, texture. Average liking scores reached up to 8.05, 7.88, 7.88, 8.08, 8.23 and 8.48 respectively. Statistically significant differences towards product-related preferences were observed at the 0.05 level; 2) According to appropriate sweetness evaluation, the approved sweetness was revealed as 20 percent of the total sugar by the total weight of jelly products. In terms of appearance, color, smell, taste (sweetness), texture and overall liking, the preference rating attained 7.68, 7.59, 7.61, 7.80, 7.75 and 7.80, respectively. The perceived attitude towards these aspects were significantly different (p<0.05). Concisely, the approved ratios of Krueo Ma Noy concentration in jelly is the 1:2 formula with 20 percent of the total sugar weight. This formula is considered suitable for a healthy ready-to-drink Krueo Ma Noy jelly beverage.


Keywords



[1] สุพรรณษา เทียมประสิทธิ์. (2561). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่ม. บริษัท วี. พริ้นท์.

[2] จำลองลักษ์ หุ้น, รุ่งทิพย์ พรหมทรัพย์, อภิสิทธิ์ ประสงสงค์สุข, สุธาสิณี นามบุตร และปราโมทย์ ทองขาว. (2553). JELLY (พิมพ์ครั้งที่ 2). แม่บ้าน.

[3] จริยา เดชกุญชร. (2549). สุดยอดเบเกอรี่. ม.ป.ท.

[4] ประสงค์สม ปุณยอุปพัทธ์. (2555). การผลิตเครื่องดื่มและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรมหาวิทยาลัย.

[5] กัญจนา ดีวิเศษ และ อร่าม คุ้มวงษ์. (2541). ผักพื้นบ้าน. สถาบันการแพทย์แผนไทย, กรุงเทพฯ.

[6] สุดารัตน์ หอมหวล. (2553). เครือหมาน้อย. Sutir. http://sutir.sut.ac.th:8080/sutir/handle/123456789/3916

[7] พรประภา ชุนถนอม, กรรณิการ์ สมบุญ, สุดารัตน์ สกุลคู และ อรนุช สีหามาลา. (2556). ผลของวิธีการสกัดต่อคุณภาพของเพคตินจากใบเครือหมาน้อยในเทือกเขาภูพาน. สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร. คณะเกษตรศาสตร์. มหาวิทยาลัยข่อนแก่น.

[8] กองโภชนาการ กรมอนามัย. (2544). ตารางแสดงคุณค่าทางโภชนาการของอาหารไทย. โรงพิมพ์องค์การทหารผ่านศึก.

[9] วิทยา บุญวรพัฒน์. (2560). 40 สรรพคุณและประโยชน์ต้นกรุงเขมา (เครือหมาน้อย). Medthai. https://www.medthai.com

[10] สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2542). มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุสาหกรรม แยม เยลลี่ และ มาร์มาเลด (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม.

[11] อบเชย วงศ์ทองและขนิษฐา พูลผลกุล. (2558). หลักการประกอบอาหาร. มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์.

[12] รีดเดอร์ส ไดเจสท์. (2543). รู้คุณรู้โทษโภชนาการ. บริษัทรีดเดอร์ส ไดเจสท์ (ประเทศไทย) จำกัด.

[13] สรจักร ศิริบริรักษ์. (2547). เภสัชโภชนา. ม.ป.ท.

[14] นิธิยา รัตนาปนนท์. (2557). เคมีอาหาร. โอเดียนสโตร์.

Full Text: PDF

DOI: 10.14416/j.bid.2022.11.005

Refbacks

  • There are currently no refbacks.