Page Header

บางขุนเทียนชายทะเล : การศึกษาปัญหาและการจัดการชุมชน
Bangkhunthian Seashore : A Study of Problems and Community Management

นวมินทร์ รัตนพงศ์ธระ, สิริกร กาญจนสุนทร

Abstract


งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) โดยมีวัตถุประสงค์ 2 ประการ  คือ 1) เพื่อศึกษาปัญหาการคมนาคม ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ปัญหาไฟฟ้า ปัญหาขยะ และปัญหาน้ำเสีย ที่เกิดขึ้นในพื้นที่บางขุนเทียนชายทะเลจำนวน 6 ชุมชน ประกอบด้วย ชุมชนชายทะเลบางขุนเทียน ชุมชนแสนตอ ชุมชนวัดหลวงพ่อเต่า ชุมชนเสาธง ชุมชนศรีกุมาร และชุมชนคลองพิทยาลงกรณ์ และ 2) เพื่อศึกษาการจัดการชุมชนเกี่ยวกับการวางแผน การตัดสินใจ การดำเนินการ และการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ดังกล่าว กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยต้องอาศัยอยู่ในพื้นที่เป็นระยะเวลานานกว่า 10 ปี จำนวน 6 ชุมชน ที่ได้มาจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย รวมทั้งหมด 175 คน และผู้นำชุมชน ชาวบ้านในแต่ละชุมชน จำนวน 4-5 คน ที่มีบทบาทสำคัญต่อชุมชนและต้องอาศัยอยู่ในพื้นที่เป็นระยะเวลานานกว่า 10 ปี ขึ้นไป ซึ่งมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่   1)  แบบสอบถาม (Questionnaire)  และ 2) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ  ข้อมูลจากแบบสอบถามปลายเปิด และข้อมูลที่ได้จากการ สัมภาษณ์เชิงลึก ใช้วิธีการจัดกลุ่มข้อมูลตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ (Data Grouping) จากนั้นจึงทำการวิเคราะห์ข้อมูลแบบใช้เทคนิควิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท (Content Analysis Technique) และนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีการบรรยายในแต่ละประเด็นที่ทำการศึกษา ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาการคมนาคม พบในชุมชนศรีกุมาร ชุมชนแสนตอ ชุมชนชายทะเลบางขุนเทียน ชุมชนคลองพิทยาลงกรณ์ และชุมชนเสาธง ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งและปัญหาไฟฟ้า พบในชุมชนบางขุนเทียนชายทะเล และชุมชนเสาธง ปัญหาขยะ พบในชุมชนศรีกุมาร ชุมชนแสนตอ ชุมชนชายทะเลบางขุนเทียน และชุมชนเสาธง ปัญหาน้ำเสีย พบในชุมชนศรีกุมาร ชุมชนแสนตอ ชุมชนชายทะเลบางขุนเทียน ชุมชนเสาธง ชุมชนคลองพิทยาลงกรณ์ และชุมชนวัดหลวงพ่อเต่า 2) การจัดการชุมชน เกิดจากการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชน โดยอาศัยองค์ประกอบในการจัดการชุมชน คือ การวางแผน การตัดสินใจ การดำเนินการ และการแก้ไขปัญหา ซึ่งเป็นหลักการที่ส่งผลให้เกิดการพัฒนาชุมชนอย่างเป็นรูปธรรมและตรงประเด็นความต้องการหรือการแก้ปัญหาของชุมชนอย่างเห็นได้ชัด

คำสำคัญ :  บางขุนเทียนชายทะเล  ปัญหาและการจัดการชุมชน

This research is a Mixed Method Research consisting of Quantitative Research and Qualitative Research. The research objectives are to: 1) study problems of transportation, coastal erosion, electricity, garbage, and wastewater in the area of Bangkhunthian seashore consisting of 6 communities including Bangkhunthian seashore community, Santo community, Wat Luang Po Tao community, Sao Thong community, Sikuman community, and Klongpittayalongkorn community; and 2) study the management of the communities related to planning, decision making, operation, and problem solving in such areas. The 175 respondents of this study were selected by simple random sampling from six communities’ members who have lived in their communities for more than ten years. From each community, 4-5 community leaders who have important roles in their communities and have lived in the area for more than 10 years were taken as the sample as well. The tools used in this research include: 1) questionnaire and 2) in-depth interviews. The test statistics used to analyze the data include percentage, data from the open questionnaire and in-depth interviews. After that, the data was analyzed by content analysis technique.  The research results were presented as descriptive presentation for each point of the study. The research results were as follows: 1) the transportation problem is found in Sikuman community, Sao Thong community, Bangkhunthian seashore community, Klongpittayalongkorn community, and Santo community. The coastal erosion problem is found in Bangkhunthian seashore community, and Santo community. The garbage problem is occurred in Sikuman community, Santo community, Bangkhunthian seashore community, and Sao Thong community. The wastewater problem is found in Sikuman community, Santo community, Bangkhunthian seashore community, Sao Thong community, Klongpittayalongkorn community, and Wat Laung Po Tao community; 2) the community management is occurred from the participation of the community members by relying on community management elements that are planning, decision making, operation, and problem solving. Participation in community management affects the community development tangibly and directly to meet the demand or solve the community problem substantially.

Keywords :  Bangkhunthian Seashore, Problem and Community Management.


Full Text: PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.