Page Header

รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สู่การพัฒนาทุนทางวัฒนธรรม : กรณีศึกษา ชุมชนวัดคีรีภาวนาราม อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง
The Model of Human Resource Development Toward The Development of Cultural Capital : A Case Study of Wat Keereepawanaram Communit

ชุลีวรรณ โชติวงษ์

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของชุมชนรอบวัดคีรีภาวนาราม อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง ให้เป็นศูนย์การจัดการความรู้และสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 2) สร้างรูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของชุมชนรอบวัดคีรีภาวนาราม อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง ให้มีส่วนร่วมพัฒนาทุนทางวัฒนธรรม และ 3) จัดทำคู่มือและสื่อสิ่งพิมพ์ของชุมชนรอบวัดคีรีภาวนาราม อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง ตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น โดยใช้วิธีการวิจัยแบบบูรณาการ ที่เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ เจ้าอาวาส ไวยาวัจกร กรรมการวัด ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน ตัวแทนของชุมชนและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม การประชุมสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยความถี่ ร้อยละ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Regression Analysis) ใช้หาค่าความสัมพันธ์ของตัวแปร 2 ตัว ที่เป็นอิสระต่อกัน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สู่การพัฒนาทุนทางวัฒนธรรม : กรณีศึกษาชุมชนวัดคีรีภาวนาราม อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง เป็นผลการใช้วิธีการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณมีปัจจัย 3 ตัวเรียงตามค่าน้ำหนักได้แก่ 1. ผู้นำ (Style) 2. ความรู้ (Knowledge) และ 3. ระบบงาน (System)  ที่เป็นตัวแปรการมีส่วนร่วมของชุมชนสู่การพัฒนาทุนทางวัฒนธรรม และได้นำมาจัดทำเป็นรูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สู่การพัฒนาทุนทางวัฒนธรรม รูปแบบ 2S 1K for Cultural Community Model  ที่ได้ผ่านความเห็นชอบจากมติที่ประชุมสนทนากลุ่มของผู้ทรงคุณวุฒิและมติที่ประชุมของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียของชุมชนรอบวัดคีรีภาวนาราม จากนั้นได้จัดทำคู่มือสื่อสิ่งพิมพ์ตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น เพื่อสะท้อนให้เห็นวิถีความเป็นอยู่ของชุมชนรอบวัดคีรีภาวนาราม ที่เป็นต้นแบบในการมีส่วนร่วมอนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมประเพณีที่สืบทอดต่อกันมาท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว

คำสำคัญ :  การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  การมีส่วนร่วม  การพัฒนาทุนทางวัฒนธรรม

The objectives of this research are to: 1) study factors of Human Resource Development of the surrounding Wat Keereepawanram community in order to support this temple to be an Education and Cultural Tourist Center, 2) formulate a model of Human Resource Development of the surrounding Wat Keereepawanram community which supports participation in the Cultural Capital Development, 3) publish a manual and printed media of the surrounding Wat Keereepawanram community using the model obtained from this research. To achieve the research objectives, both qualitative and quantitative approach were employed. Population samples are Chief Abbot, Temple Management Board, Folk Philosopher, Community Leader, Community Representative and other concerned parties. The research tools are interviews, questionnaires, and group meeting. Statistic data used to analyses are frequency, percentage and Regression Analysis. The Regression Analysis is used to evaluate the relation of two independent variables by using the compact software SPSS program. The outcome of “The model of human resource development toward the development of cultural Capital :  A case study of Wat Keereepawanram Community, Ban-Chang, Rayong” is an analysis result from three regression factor analyses; i.e., 1) Leader Style, 2) Knowledge and 3) System, which are all variables of community contribution and cooperation to the Cultural Capital Development. This is applied to formulate the Human Resource Development Model to the Development of Cultural Capital. The “2S 1K for Cultural Community Model” was approved by the board of meeting amongst the experts and stakeholders surrounding Wat Keereepawanram. The manual and printed media, then published to reflect the surrounding Wat Keereepawanram community’s way of living as a role model for participation in cultural preservation in a rapidly changing society.

 

Keywords :  human resource development, co-operativeness,  the development of cultural capital


Full Text: PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.