Page Header

การพัฒนาการบริหารจัดการเมืองน่าอยู่ที่มีประสิทธิผลของเทศบาลตำบลในจังหวัดจันทบุรี
Development of Effectiveness Management on Eco- city of Subdistrict Municipalities at Chanthaburi Province.

สิทธิพร เขาอุ่น, กฤษณะ ดาราเรือง, สมเดช สิทธิพงศ์พิทยา

Abstract


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการเมืองน่าอยู่ เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลในการบริหารจัดการเมืองน่าอยู่ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลตามแบบจำลองสมการโครงสร้าง (Structural Equation Model) การบริหารจัดการเมืองน่าอยู่ที่มีประสิทธิผลของเทศบาลตำบลในจังหวัดจันทบุรี และเพื่อนำเสนอแนวทางการบริหารจัดการเมืองน่าอยู่ที่มีประสิทธิผลของเทศบาลตำบลในจังหวัดจันทบุรี การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างได้แก่  ผู้บริหารเทศบาลตำบล, สมาชิกสภาเทศบาลตำบล, ข้าราชการ/พนักงานเทศบาลตำบลในจังหวัดจันทบุรี และ กลุ่มประชาชนในเขตเทศบาลตำบลในจังหวัดจันทบุรี จำนวน 1,300 คน ใช้แบบสอบถามทำการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้วิธีการเลือกสุ่มแบบชั้นภูมิ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบ One-sample t-test และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันตามโครงสร้าง และการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยใช้ การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi structure interview) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ข้าราชการส่วนภูมิภาคระดับบริหาร, ข้าราชการการเมืองท้องถิ่นระดับบริหาร, ภาคีเครือข่ายที่เป็นนักวิชาการ, NGO, ปราชญ์ชาวบ้าน และกลุ่มผู้นำชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์แบบอุปนัย หรือการวิเคราะห์แบบพรรณนาความในแบบข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการบริหารจัดการเมืองน่าอยู่ของเทศบาลตำบลในจังหวัดจันทบุรี ที่ประกอบด้วย ด้านภาวะผู้นำ ด้านการจัดกระบวนการ ด้านการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน และด้านประสิทธิผลเมืองน่าอยู่ ทุกด้านอยู่ในระดับสูง 2) องค์ประกอบเชิงยืนยันการบริหารจัดการเมืองน่าอยู่ที่มีประสิทธิผลของเทศบาลตำบลในจังหวัดจันทบุรี มีน้ำหนักองค์ประกอบตั้งแต่ 0.40 ขึ้นไป โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง และ 3) การบริหารจัดการเมืองน่าอยู่ที่มีประสิทธิผลของเทศบาลตำบลในจังหวัดจันทบุรี ได้รับอิทธิพลทางตรงเชิงบวกมาจาก 4 ปัจจัย คือ ปัจจัยด้านภาวะผู้นำในระดับต่ำ (DE=0.46) ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนในระดับต่ำ (DE=0.14) ปัจจัยด้านการจัดกระบวนการในระดับปานกลาง (DE=0.76)  และปัจจัยด้านการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ในระดับต่ำ (DE=0.24) และจากผลของการวิจัยครั้งนี้ พบว่าปัจจัยทั้งหมดดังกล่าวสามารถทำนายตัวแปร คือ ประสิทธิผลการบริหารจัดการเมืองน่าอยู่ของเทศบาลตำบลในจังหวัดจันทบุรีได้ร้อยละ 69 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และ  4) มี 6 แนวทางในการพัฒนาการบริหารจัดการเมืองน่าอยู่ที่มีประสิทธิผลของเทศบาลตำบลในเขตพื้นที่จังหวัดจันทบุรี

คำสำคัญ :  เมืองน่าอยู่  ประสิทธิผล  เทศบาลตำบล  จันทบุรี

Firstly, to study management on Eco-city of Subdistrict Municipalities at Chanthaburi Province. Secondly, to analyze the causal confirmatory factors that affecting the effectiveness management on Eco-city of Subdistrict Municipalities at Chanthaburi Province.  Thirdly, to study causal relationships with the structural equation model the effectiveness management on Eco-city of Subdistrict Municipalities at Chanthaburi Province.  Fourthly, to develop and present appropriately effective approaches the effectiveness management on Eco-city to local government at Chanthaburi Province.  A Quantitative method were obtained from questionnaires from administrators, council member and officers of Subdistrict Municipalities and population in Subdistrict Municipalities area, given by 1,300 peoples sample and multi-stage random sampling.  The statistics used were; percentage, mean,(x) standard deviation, one –sample t- test, confirmatory factor analysis, and path analysis via LISREL Version 8.80 with basic model.  A Qualitative method were obtained from Semi structure interview with key informants from administrator’s local government, mayor of Subdistrict Municipalities, community network, academic, NGO, local wisdom and community representations, analysis data by analytic induction or descriptive analysis in the content-oriented model.  It was found from the study that: 1) The Management on Eco – city of Subdistrict Municipality at Chanthaburi Province at the high and significance at the .05 level, namely Leadership, Process Management, New Public Management, Public Participation and Eco-city Effectiveness; 2) Confirmatory factors of the model that affecting the effectiveness management on Eco-city of Subdistrict Municipalities at Chanthaburi Province had factor loading that were more than 0.40., and 3) Process Management is moderate (DE = 0.76). Moreover, all factors could predict of effectiveness management on Eco- city of Subdistrict Municipalities at Chanthaburi Province at 69 percent present with the .05 level of significance; 4) six appropriate were development of effectiveness management on Eco-city to local government at Chanthaburi Province.

Keywords : Eco-city, Effectiveness, Subdistrict Municipality, Chanthaburi Province


Full Text: PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.