Page Header

ปัญหาและแนวทางแก้ไขการจัดการโครงการจัดการน้ำสะอาดของการประปาส่วนภูมิภาค สาขาชลบุรี (ชั้นพิเศษ) ภายใต้สถานการณ์ภัยแล้ง

พุฒิรักษ์ ลาภอนันต์, กาญจนา บุญยัง

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขสำหรับการจัดการโครงการจัดการน้ำสะอาดภายใต้สถานการณ์ภัยแล้งของการประปาส่วนภูมิภาค สาขาชลบุรี (ชั้นพิเศษ) ใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพโดยสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญระดับผู้บริหารและผู้ให้ข้อมูลสำคัญระดับปฏิบัติการ รวมทั้งสิ้น 12 คน เครื่องมือในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ตรวจสอบคุณภาพของข้อมูลแบบสามเส้า วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สถานการณ์ภัยแล้งของจังหวัดชลบุรีมักเกิดขึ้นในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคมซึ่งส่งผลให้การประปาส่วนภูมิภาคสาขาชลบุรี (ชั้นพิเศษ) เผชิญกับปริมาณน้ำดิบไม่เพียงพอ คุณภาพน้ำด้อยลง การปรับจ่ายสารเคมียากขึ้น โดยปัญหาของโครงการจัดการน้ำสะอาด ทั้ง 5 ระยะคือ 1) ทีมงานขาดประสิทธิภาพ 2) ระบบผลิตและจ่ายน้ำประปาบางส่วนเก่า พนักงานขาดความรู้ คู่มือการปฏิบัติการไม่ทันสมัย ขาดการปรับปรุงแผนการผลิตน้ำประปา 3) การตรวจเช็คข้อมูล/รวบรวมข้อมูลใช้เวลานาน และพบการร้องเรียนกรณีน้ำไม่ไหล/ไหลอ่อนมากกว่าในสถานการณ์ปกติ 4) ผู้ที่รับผิดชอบไม่เคยซักซ้อมกระบวนการตามแผน ได้รับจัดสรรทรัพยากรไม่เพียงพอ 5) แผนการดำเนินงานไม่รองรับการเปลี่ยนแปลงแบบวิกฤต แนวทางแก้ไขปัญหาของโครงการจัดการน้ำสะอาดที่เหมาะสม คือ 1) จัดเตรียมทีมงานมากกว่า 1 ชุด 2) ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในเรื่อง WSP ปรับปรุงระบบผลิตโดยคำนึงถึงจำนวนผู้ใช้น้ำที่เพิ่มขึ้น ร่วมประชุม ประเมินความเสี่ยง และจัดทำเอกสารการบันทึกข้อมูลให้ง่ายต่อการใช้งาน พนักงานและหัวหน้าร่วมกันจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน กำหนดแผนผังการปฏิบัติงานให้รัดกุม 3) จัดหาอุปกรณ์สำนักงานเพื่ออำนวยความสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ปรับเปลี่ยนเวลาการจ่ายน้ำ 4) เตรียมแผนสำรองเพื่อแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ฉุกเฉิน วางแผนและเตรียมการขอจัดสรรอัตรากำลังและงบประมาณ 5) ทบทวนและตรวจสอบแผนงาน WSP ทุกไตรมาส และให้ความสำคัญกับการป้องกันภัยแล้งระยะยาวโดยใช้โครงข่ายระบบผลิตอย่างเป็นระบบ

คำสำคัญ ปัญหาและแนวทางแก้ไข  โครงการจัดการน้ำสะอาด  การประปาส่วนภูมิภาค  สถานการณ์ภัยแล้ง

The purpose of this study was to investigate problems of Water Safety Plan (WSP) and to analyze appropriate solution’s guidelines during drought circumstances conducted by Provincial Waterworks Authority, Chon Buri branch (special class).  The qualification research collected the data by interviewing 12 key informants holding positions of administrators and practitioners in Provincial Waterworks Authority, Chon Buri branch (special class).  The instrument of this study was a semi-structured interview form.  Triangulation technique and content analysis technique were used to analyze the collected data. The results of this study revealed that a drought condition facing Chon Buri province during the months of June-July resulted in the inadequacy of raw water; the quality of water was deteriorated and the adjustment of chemical substances became more difficult. There were 5 problems pertaining to the Water Safety Plan. 1) The team was inefficient.  2) The systems for water supply production and distribution were old; working staff lacked of knowledge, outdated manuals and there was no improvement of water supply production’s plans. 3) It took a long time for data checking and there were more complaints about weak water flow.  4) Furthermore, both of the officers in charge had never rehearsed work process following the crisis response plan, but also there was an inadequacy of allocated work resources.  5) Finally, it was shown that many plans could not response to immediate crises. Regarding the solving guidelines, 1) more than one working team should be made available. 2) Better understanding of WSP and improvement of water supply production based on increased water users should be provided.  There should do meetings, risk evaluation, preparing a friendly-user recording form.  Staff, together with supervisors should collaboratively wrote working manuals and set effective work schedules.  3) Office equipment and materials should be made available to increase work efficiency; there should also adjust more suitable water distribution’s schedule.  4) An alternative plan should be made available to provide immediate solutions toward an emergency situations with crisis response plans and projecting for more manpower and budget supports.  5) Finally, there should be a review and evaluation of WSP plans on a quarterly basis; and paying an attention on a long term prevention of drought by using a systematic network for water supply production. 

Keywords : problems and solution, Water Safety Plan, provincial waterworks authority, drought conditions


Full Text: PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.