Page Header

การศึกษาช่องว่างสมรรถนะของผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรก่อสร้างอาคาร ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และความต้องการของสถานประกอบการก่อสร้าง ในประเทศลาว

คำมอน เที่ยงจันทาลา, ไพโรจน์ สถิรยากร, กฤช สินธนะกุล

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาช่องว่างสมรรถนะความต้องการของผู้ประกอบการก่อสร้าง และการศึกษาช่องว่างสมรรถนะของผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และความต้องการของสถานประกอบการก่อสร้างในประเทศลาวประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่สถานระกอบการด้านการก่อสร้างอาคารทั้งประเทศลาวจำนวน 2,835 แห่ง และใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งเป็นภาคเพื่อรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างภาคเหนือ   ภาคกลาง และภาคใต้ ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างของสถานประกอบการ 114 แห่ง, เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบสอบถามสมรรถนะของผู้จบการศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ประโยชน์ของการวิจัยครั้งนี้คือการได้รับข้อมูล และแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรตามความต้องการของสถาบันพัฒนาวิชาชีพ และได้ข้อมูลสำหรับครูผู้ที่สอนสาขาก่อสร้างเพื่อใช้ในการเรียนการสอน ผู้ประกอบการก่อสร้างจะได้รับนักศึกษาที่จบตามความต้องการ  ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการด้านสมรรถนะของสถานประกอบการด้านการก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยด้านทัศนคติอยู่ในระดับปานกลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลการปฏิบัติงาน ได้แก่ ตรงต่อเวลา นวัตกรรม และความรับผิดชอบหน้างานในภาคสนาม เกี่ยวกับการก่อสร้างอาคารที่พักอาศัย  สำหรับด้านความรู้และทักษะมีความต้องการน้อยที่สุด และ 2) ช่องว่างสมรรถนะของ ผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และความต้องการของสถานประกอบการก่อสร้างในประเทศลาว  มีช่องว่างทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านความรู้ ด้านความสามารถ และทางด้านทักษะ

The Study of Competency Gap of Graduated Students in Vocational Diploma Curriculum of Building Construction and the Construction Enterprises’ Requirements in Laos

This study aimed to study the competency the construction enterprises’s requirements and the study of competency gap of graduated students in vocational diploma curriculum of building construction and the construction enterprises’s requirements in Laos.  The populations were 2,835 building enterprises from Laos.  The stratified random sampling technique was used to collect data from the northern, central, and southern parts, of 114 sampling enterprises.  The study tool was the competency questionnaire.  The researcher statistics frequency, percentage, mean and standard deviation.  The benefits of this research was to obtain information and guideline for curriculum development according to the demands of competency for Vocational Education Development Institute (VEDI), and to obtain information for building construction’s teachers to manage teaching and learning.  Also the enterprises get the graduate's students who are in accordance with their requirements in Laos.  The results showed that: 1) the attitude of the competency requirements of the building construction enterprises was moderate.  In particular, work performance, such as punctuality, innovative, responsibility, practical, and field handing, for knowledge and skills in building construction were the least requirements, and 2) the study of competency gap of graduated students in vocational diploma curriculum of building construction and the construction enterprises’s requirements in Laos revealed that there were gaps in all three parts, attitude abilities, knowledge abilities and skill abilities.


Keywords


ช่องว่างความสมรรถนะ; นักศึกษาจบการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพ; การก่อสร้าง; Competency Gap; Graduate Students; Vocational Diploma; Construction

Full Text: PDF

DOI: 10.14416/j.faa.2019.08.007

Refbacks

  • There are currently no refbacks.