Page Header

ผลของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักไตรสิกขาต่อการรู้เท่าทันสื่อออนไลน์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี The Effects of Learner Development Activities based on Tri-Sikkha on Online Media literacy of Undergraduate Students

ทศพล โสมะนันทน์, จิตตินันท์ บุญสถิรกุล, ปวีณา อ่อนใจเอื้อ

Abstract


การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักไตรสิกขาต่อการรู้เท่าทันสื่อออนไลน์ของนักศึกษาระดับระดับปริญญาตรีกลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมการวิจัยครั้งนี้คือนักศึกษาระดับปริญญาตรีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งหนึ่งปีการศึกษา 2560 ซึ่งผู้วิจัยได้มาจากการเลือกอย่างเจาะจงเป็นนักศึกษาสาขาวิชาจิตวิทยาจำนวน 21 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักไตรสิกขา 2) แบบวัดการรู้เท่าทันสื่อออนไลน์และ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักไตรสิกขาผู้วิจัยใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบ Wilcoxon Signed Rank Test และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีคะแนนจากแบบวัดการรู้เท่าทันสื่อออนไลน์ของกลุ่มทดลองในระยะหลังการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักไตรสิกขาต่อการรู้เท่าทันสื่อออนไลน์สูงขึ้นกว่าในระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผลจากการวิเคราะห์บันทึกการเรียนรู้กลุ่มตัวอย่างสะท้อนว่าจะต้องมีการตรวจสอบข้อมูลก่อนที่จะเชื่อสื่อออนไลน์หรือเผยแพร่สื่อออนไลน์ต่อนอกจากนั้นจะระมัดระวังในการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นส่วนตัวและเลือกรับสื่อออนไลน์ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเอง

The purposes of this research is to study Learner Development Activities based on Tri-Sikkha on Online Media literacy of Undergraduate Students. The participants in this study were 21 undergraduate students at Faculty of Humanity and Social Science, Rajabhat University, selected by purposive sampling. The instruments used in this Undergraduate research consisted of 1) Learner Development Activities based on Tri-Sikkha on Media literacy of Undergraduate Students 2) the Online Media literacy test and 3) the Opinions towards Participating in the Activities Questionnaire. Means, Standard Deviation, Wilcoxon signed rank test and Content Analysis were used to analyze data.

The results revealed that the experimental group had the post-test scores of Online Media literacy higher than the pre-test at the significant level at .01. The results from learning records showed that the participants reported that after participating in the activities help them to recheck the information before believing or sharing them. In addition, the participants said that they would share personal information carefully and they wanted to get only beneficial information to improve themselves.


Keywords


กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน; ไตรสิกขา; การรู้เท่าทันสื่อออนไลน์; Learner Development Activities; Tri-Sikkha; Media literacy

Full Text: PDF

DOI: 10.14416/j.faa.2020.02.002

Refbacks

  • There are currently no refbacks.