Page Header

ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการออมแรงทางสังคมของพนักงานบริษัทผลิตอาหารพร้อมรับประทานแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี
Factors Affecting the Social Loafing Behavior of Personnel at a Ready-to-Eat Food Manufacturing Company in Pathum Thani Province

จิตราภรณ์ อินธนู, รังสิมา หอมเศรษฐี, มณฑิรา จารุเพ็ง

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับการรับรู้ความสามารถตนเอง ประสิทธิภาพในการปรับตัว การจัดการผลการปฏิบัติงาน วัฒนธรรมองค์การ และพฤติกรรมการออมแรงทางสังคม 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถตนเอง ประสิทธิภาพในการปรับตัว การจัดการผลการปฏิบัติงาน วัฒนธรรมองค์การ กับพฤติกรรมการออมแรงทางสังคม และ 3) เพื่อศึกษาอำนาจการทำนายพฤติกรรมการออมแรงทางสังคม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานบริษัทผลิตอาหารพร้อมรับประทานแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 294 คน การวิจัยครั้งนี้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) พนักงานมีพฤติกรรมการออมแรงทางสังคมโดยรวมอยู่ในระดับต่ำ การรับรู้ความสามารถตนเองโดยรวมอยู่ในระดับสูง ประสิทธิภาพในการปรับตัวโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง การจัดการผลการปฏิบัติงานโดยรวมอยู่ในระดับสูง และวัฒนธรรมองค์การโดยรวมอยู่ในระดับสูง 2) การรับรู้ความสามารถตนเอง ประสิทธิภาพในการปรับตัว การจัดการผลการปฏิบัติงาน วัฒนธรรมองค์การ มีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมการออมแรงทางสังคม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 โดยประสิทธิภาพในการปรับตัวมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออมแรงมากที่สุด รองลงมาคือการจัดการผลการปฏิบัติงาน การรับรู้ความสามารถตนเอง และวัฒนธรรมองค์การ ตามลำดับ และ 3) ประสิทธิภาพในการปรับตัวเป็นตัวแปรเดียวที่สามารถทำนายพฤติกรรมการออมแรงทางสังคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 โดยสามารถทำนายได้ร้อยละ 21.20

The objectives of this research were to study (1) level of the self-efficacy, adjustment efficiency, performance management, organizational culture, and the social loafing behavior. The researcher investigates (2) the relationships between the self-efficacy, adjustment efficiency, performance management, organizational culture, and the social loafing behavior of the personnel under study. The researcher studies (3) the predictive power of self-efficacy, adjustment efficiency, performance management and organizational culture as a predictor at least one variable to predict social loafing behavior of the personnel. The samples consisted of 294 personnel at a ready-to-eat food manufacturing company in Pathum Thani province. The questionnaire was used to collect data. The statistics used in data analysis were percentage, mean, and standard deviation. The techniques of Pearson’s product moment correlation coefficient and multiple regression analysis were also employed. The result show that (1) The personnel exhibited social loafing behavior overall at a low level. Their self-efficacy overall was at a high level. Their adjustment efficiency overall was at a moderate level. Performance management overall was at a high level. Organizational culture overall was at a high level. (2) Their self-efficacy, adjustment efficiency, performance management, and organizational culture negatively correlated with the social loafing behavior of the personnel at the statistically significant level of .01 with adjustment efficiency as the factor most correlated with social loafing behaviour, then performance management, self-efficacy and organizational culture respectively. (3) Their adjustment efficiency was the only variable that could predict the social loafing behavior of the personnel with the statistically significant level of .01. at 21.20 percent.


Keywords


พฤติกรรมการออมแรงทางสังคม;การรับรู้ความสามารถตนเอง;ประสิทธิภาพในการปรับตัว;การจัดการผลการปฏิบัติงาน;วัฒนธรรมองค์การ;Social loafing behavior;Self efficacy;Adjustment efficiency;Performance management;Organizational culture

Full Text: PDF

DOI: 10.14416/j.faa.2020.25.003

Refbacks

  • There are currently no refbacks.