Page Header

การสื่อสารความหมายในการ์ตูนแอปพลิเคชัน เรื่อง ศรีธนญชัย เจ้าปัญญา
Communications in the Stories of the Wit of Sritanonchai Jaophanya on the Cartoon Application

วิเชษฐชาย กมลสัจจะ

Abstract


บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อสารความหมายในการ์ตูนแอปพลิเคชันเรื่องศรีธนญชัย เจ้าปัญญา ผลการศึกษาพบว่า ในด้านโครงเรื่อง ผู้ประพันธ์นำเพียงส่วนต้นเรื่อง ตอนที่ศรีธนญชัยกำเนิดมาใช้เท่านั้น ในด้านแก่นเรื่องหรือแนวคิดของเรื่อง พบว่า มีแก่นเรื่องที่เน้นการใช้สติปัญญาไปในทางที่ชอบ และเป็นประโยชน์ต่อสังคม ซึ่งแตกต่างจากนิทานพื้นบ้านที่เน้นการใช้สติปัญญาไปในทางที่ไม่ชอบ ในด้านตัวละคร 1) ตัวละครพระเอก พบว่า ในเรื่องจะเน้นการประกอบสร้างลักษณะนิสัยของตัวละครให้มีปัญญาเฉลียวฉลาดประกอบกับคุณธรรมในการช่วยเหลือผู้อื่น ซึ่งต่างจากนิทานพื้นบ้าน 2) ตัวละครปฏิปักษ์ พบว่า มีการสร้างโจรสามพี่น้องขึ้น เพื่อให้เห็นความแตกต่างระหว่างตัวแทนของธรรมะและอธรรมได้อย่างชัดเจน ในด้านการแต่งกายของตัวละครเอก พบว่า ผู้แต่งมีการสื่อความหมายของตัวละครผ่านการแต่งกาย โดยจะมีการแต่งกายในลักษณะคล้ายนักสืบ เพื่อสื่อให้เห็นถึงคุณสมบัติของตัวละครที่มีสติปัญญาในเชิงวิทยาศาสตร์ ช่างสังเกต และมีเหตุมีผล ในด้านสถานที่ พบว่า ผู้แต่งพยายามแทรกสถานที่ต่างๆ ให้เข้ากับยุคสมัย รวมถึงมีการประชาสัมพันธ์บริษัทของผู้สร้างได้อย่างแยบยล นอกจากนี้ยังปรากฏโรงเรียนซึ่งสะท้อนให้เห็นความคิดของคนปัจจุบัน ที่มองว่าโรงเรียนเป็นแหล่งความรู้ และสามารถขัดเกลาเยาวชนของชาติได้ดีที่สุด ในด้านการเดินทางและพาหนะที่ใช้ พบว่า ยังคงมีการเดินเท้าและมีการใช้ม้าบ้างในบางตอน ซึ่งทำให้เห็นภาพของการคมนาคมในอดีต ในด้านอาวุธ พบว่า ผู้ประพันธ์พยายามหลีกเลี่ยงการใช้อาวุธในแง่ของการใช้ความรุนแรง ซึ่งเป็นการปลูกฝังความคิดในเชิงคุณธรรมให้แก่เยาวชน

This study aimed to investigate the communications in a cartoon application on the title of a Wit of Srithanonchai Jaophanya. The result revealed that the author partially presented the beginning of the story when Srithanonchai was born in the plot. Whereas, the theme of the story was found that the positive intellect was emphasized and also benefited society. This was different from other folk tale which always presented the use of negative tricks. Additionally, in terms of the character, it showed that 1) the hero was built with a shrewdness and virtue for helping others that is contrast with other normal folk tales; 2) the three robbers were built as the opponents to be able to see the clear differences between the representatives of the good and evil sides. The hero costumes were communicated through styles which were similar to the detective in order to present qualifications of the science intellect with observance and reasonability. On the setting, it was found that the places were set appropriately to the era, while the creator company was publicized ingeniously. Moreover, the emergence of a school reflected the current thought on school as the educating place and developing the quality of adolescent. For journey and vehicle use, it was found that people remain going places to places by walking or riding horses in some scenes. This showed how the transportation in the past was. Finally, for the weapon aspect, it revealed that the author tried to avoid using weapons in the sense of violence so as to nurture moral thought for teenagers.

 


Keywords


ศรีธนญชัย;การสื่อสารความหมาย;การ์ตูนแอปพลิเคชัน;Srithanonchai; Communications;Cartoon Application

Full Text: PDF

DOI: 10.14416/j.faa.2020.25.009

Refbacks

  • There are currently no refbacks.