Page Header

ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะหมดไฟและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการในมหาวิทยาลัย

เหมือนขวัญ จรงค์หนู, นนทิรัตน์ พัฒนภักดี

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะหมดไฟและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการในมหาวิทยาลัย 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะหมดไฟและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการในมหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย เป็น บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการในมหาวิทยาลัย รวมจำนวน 361 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยค่าความถี่        ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบบางส่วน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

      ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับภาวะหมดไฟของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการในมหาวิทยาลัย โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อย ส่วนระดับของประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการในมหาวิทยาลัย โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2) ภาวะหมดไฟโดยรวมมีความสัมพันธ์ทางลบกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการในมหาวิทยาลัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = -.177) 3) ภาวะหมดไฟด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการในมหาวิทยาลัย อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ    4)ภาวะหมดไฟด้านการลดคุณค่าความเป็นบุคคลในผู้อื่น มีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการในมหาวิทยาลัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .119) 5) ภาวะหมดไฟด้านความรู้สึกว่าตนเองไร้ความสามารถ มีความสัมพันธ์ทางลบกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการในมหาวิทยาลัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = -.323)

The objectives of this research were 1) to study the level of burnout and performance efficiency of academic supporting staff in university, and 2) to study relationship between burnout and performance efficiency of academic supporting staff in university. The samples used in the study were 361 staff in university. The research instrument was a questionnaire. Statistics used in data analysis consisted of frequency, percentage, mean, standard deviation, partial correlation coefficient and Pearson's correlation coefficient.

         The results revealed that 1) The mean of burnout was at a low level while the performance efficiency was at a high level, 2) burnout negatively correlated with performance efficiency of academic supporting staff in university at the statistical significance level of .01 (r = -.177). 3) The facet of burnout : emotional exhaustion did not correlate with performance efficiency of academic supporting staff in university. 4) The facet of burnout : depersonalization positively correlated with performance efficiency of academic supporting staff in university at the statistical significance level of .05 (r = .119). 5) The facet of burnout : reduced professional efficacy negatively correlated with performance efficiency of academic supporting staff in university at the statistical significance level of .01 (r = - .323).                    


Keywords


Burnout; Performance Efficiency; Academic Supporting Staff; ภาวะหมดไฟ; ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน; บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ

Full Text: PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.