Page Header

Program Evaluation of STEM Education in Watkhemapirataram School

Pananya Wattana, Pikul Ekwarangkoon, Warunee Lapanachokdee

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการสะเต็มศึกษา โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม 3 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านความพร้อมและความเหมาะสมของปัจจัยนำเข้าของโครงการ 2) ความเหมาะสมของกระบวนการดำเนินโครงการ และ 3) ผลผลิตของโครงการสะเต็มศึกษา ซึ่งประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้รับผิดชอบโครงการ ครูผู้เข้าร่วมโครงการ นักเรียนทูตสะเต็ม และนักเรียนผู้เข้าร่วมโครงการ เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึการสนทนากลุ่ม แบบประเมินนวัตกรรมของนักเรียน แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาของครู แบบประเมินตนเองด้านความพร้อมในการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาของครู แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อโครงการ และแบบบันทึกข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการประเมินโครงการสะเต็มศึกษา พบว่า ด้านความพร้อมและความเหมาะสมของปัจจัยนำเข้าของโครงการ มีประเด็นที่ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 3 ประเด็น ได้แก่ 1) ความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ของกิจกรรมกับวัตถุประสงค์ของโครงการ 2) ความพร้อมในการดำเนินโครงการสะเต็มศึกษาของโรงเรียน และ 3) ความพร้อมในการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาของครู ด้านความเหมาะสมของกระบวนการดำเนินโครงการ มีประเด็นที่ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 3 ประเด็น ได้แก่ 1) การดำเนินกิจกรรมตามแผนที่กำหนดไว้ 2) การนิเทศติดตามการดำเนินโครงการ และ 3) ปัญหา อุปสรรค และการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการดำเนินกิจกรรมในโครงการ และ ด้านผลผลิตของโครงการสะเต็มศึกษา เมื่อตรวจสอบการบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ จำนวน 3 ข้อ ตลอดจนการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการสะเต็มของผู้บริหาร ครูผู้รับผิดชอบโครงการ ครูผู้เข้าร่วมโครงการ และนักเรียน พบว่า มีประเด็นที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน 3 ประเด็น ได้แก่ (1) ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา (2) นักเรียนมีความสามารถในการสร้างนวัตกรรมโดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม และ (3) ผู้บริหาร ครูผู้รับผิดชอบโครงการ ครูที่เข้าร่วมโครงการ และนักเรียน มีความพึงพอใจต่อโครงการสะเต็มศึกษาอยู่ในระดับมาก  ส่วนประเด็นที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ได้แก่ การมีเครือข่ายทูตสะเต็มในแต่ละระดับชั้นที่มีประสิทธิภาพของโรงเรียน


Keywords


การประเมินโครงการ; สะเต็มศึกษา

[1] Institute for Promotion of Teaching Science and Technology, STEM Education, Bangkok: Ministry of Education Thailand, 2014. (in Thai)

[2] Ministry of Education Thailand, Basic Education Core Curriculum B.E. 2551 (A.D. 2008) revised version 2017, Bangkok: The Agricultural Cooperative Federation of Thailand. Limited, 2017. (in Thai)

[3] F. Dixon, "Increasing STEM Student Retention and Graduation through Organized Mentoring Programs," 21 February 2018. [Online]. Available: https://www.emerging-researchers.org/wp-content/uploads/2018/02/2018PI-PDMeeting ProgramBook_WEB.pdf. [Accessed 19 September 2019].

[4] Institute for Promotion of Teaching Science and Technology, "What is the engineering design process?," IPST Magazine, vol. 46, no. 210, pp. 37-41, 2014. (in Thai)

[5] K. Tharthip and K. Khwana, "STEM Education for learning management to work skills in the 21st century," Journal of Graduate School, vol. 16, no. 73, pp. 1-12, 2019. (in Thai)

[6] S. Phithiyanuwat, Include official articles for project evaluation, Bangkok: Chulalongkorn University, 2015. (in Thai)

[7] T. Khemmanee, The science of teaching knowledge for effective learning process, Bangkok: Chulalongkorn University, 2017. (in Thai)

[8] Office of knowledge management and development, "Propulsion view about STEM Education," The Knowledge, vol. 9, no. 2, p. 17, 2018. (in Thai)

[9] P. Siriphatrachai, "STEM Education with 21st century skills development," Executive Journal, vol. 33, no. 2, pp. 49-56, 2013. (in Thai)

[10] N. choakiratipong, "Lesson Plans Writing in Instructional Science Subject," Veridian E-Journal, Silpakorn University, vol. 10, no. 1, pp. 111-127, 2017. (in Thai)

Full Text: PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ISSN: -