Page Header

Model Development for Agricultural Health Product Producers

Pachon Larnlua, Somnoek Wisuttipaet, Taweesak Roopsing

Abstract


งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานในปัจจุบันของผู้ประกอบการผลิตทางการเกษตร เพื่อสุขภาพ 2) ศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการพัฒนาผู้ประกอบการผลิตทางการเกษตรเพื่อสุขภาพ 3) สร้างรูปแบบการพัฒนาผู้ประกอบการผลิตทางการเกษตรเพื่อสุขภาพ และ 4) สร้างคู่มือในการใช้รูปแบบการพัฒนาผู้ประกอบการผลิตทางการเกษตรเพื่อสุขภาพ ประชากรประกอบด้วยผู้ประกอบการผลิตทางการเกษตรเพื่อสุขภาพ คัดกรองจากผู้ประกอบการที่ทำการปฎิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม, เกษตรอินทรีย์และการผลิตทางการเกษตรมาตรฐานอื่น ๆ ที่สูงกว่าขึ้นไป ในระดับเจ้าของกิจการ ผู้จัดการ หัวหน้ากลุ่มวิสาหกิจชุมชน โดยศึกษาข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลการผลิตพืชตามระบบเกษตรดีที่เหมาะสม ของสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งปัจจุบันมีเกษตรกรขึ้นทะเบียน แล้วทั้งสิ้น 341,532 ราย รวมพื้นที่ปลูกด้วยมาตรฐานทั่วประเทศ 2,529,891.14 ไร่ กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน กระจายให้มีความหลากหลายของผลิตผลและทั่วพื้นที่ทุกภาค ตามสถานประกอบการที่ขึ้นทะเบียนและได้มาตรฐานที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยการสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถามให้ระดับความสำคัญขององค์ประกอบหลักที่ส่งผลต่อความสำเร็จโดยรวมของผู้ประกอบการผลิตทางการเกษตรเพื่อสุขภาพมี 3 องค์ประกอบ ประกอบด้วย (1) ปัจจัยด้านความรู้ ประกอบไปด้วยปัจจัยย่อย 10 ปัจจัย (2) ปัจจัยด้านทักษะ ประกอบไปด้วยปัจจัยย่อย 10 ปัจจัย และ (3) ปัจจัยด้านคุณสมบัติอื่น ๆ ประกอบไปด้วยปัจจัยย่อย 5 ปัจจัย รวมทั้งสิ้น 25 ปัจจัย 2) องค์ประกอบหลักที่ส่งผลต่อความสำเร็จโดยรวมของผู้ประกอบการผลิตทางการเกษตรเพื่อสุขภาพอยู่ในระดับมาก พิจารณารายด้านพบว่า ระดับความคิดเห็นในระดับมากทุกด้าน ซึ่งมีการเรียงลำดับดังนี้ (1) ปัจจัยด้านคุณลักษณะด้านอื่น ๆ ของผู้ประกอบการ (=3.88) (2) ปัจจัยด้านความรู้ของผู้ประกอบการ (=3.80) และ (3) ปัจจัยด้านทักษะในการทำงานของผู้ประกอบการ (=3.76) 3) ผู้ทรงคุณวุฒิส่วนใหญ่ให้ความ  เห็นว่า การจัดทำคู่มือรูปแบบการพัฒนาผู้ประกอบการผลิตทางการเกษตรเพื่อสุขภาพในภาพรวมมีความเหมาะสม คิดเป็นร้อยละ 93.65 และ 4) มีความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบไปสู่การปฎิบัติ คิดเป็นร้อยละ 92.86


Keywords


รูปแบบการพัฒนา; ผู้ประกอบการผลิตทางการเกษตรเพื่อสุขภาพ

[1] Plant Standard and Certification Division, "Operation Manual (Standard Operating Procedure: SOP)," 2014. [Online]. Available: http://www.gap.doa.go.th. [Accessed 5 December 2017]. (in Thai)


[2] Office of The National Economic and Social Development Board, "National Strategic Plan for Organic Farming No. 1," 2008. [Online]. Available: http://www.greennet.or. th/library/book/746. [Accessed 5 December 2017]. (in Thai)


[3] Planning Division, Department of Livestock Development, "National Strategy for Organic Farming Development 2017-2020," 2017. [Online]. Available: http://planning. dld.go.th/th/index.php/th/plan-menu/574- 2560-2564. [Accessed 5 December 2017]. (in Thai)


[4] National Bureau of Agricultural Commodity and Food Standards, "National Bureau of Agricultural Commodity and Food Standards Driven to Develop Agricultural and Food Products to Thailand 4.0," 2017. [Online]. Available: https://www.technology chaoban.com/uncategorized/article_21124. [Accessed 5 December 2017]. (in Thai)


[5] Thailand Pesticide Alert Network (Thai –PAN), "Residual of Pesticide in Hydroponics Vegetables are higher than that of Conventional Vegetables," 2017. [Online]. Available: http://www.thaipan.org/node/ 879. [Accessed 5 December 2017]. (in Thai).


[6] Health Education Division, "Danger! Thai vegetables found almost 100% residue of chemicals," 2016. [Online]. Available: http: //www.hed.go.th/news/5925. [Accessed 5 December 2017]. (in Thai)


[7] T. Yamane, Statistics: An Introductory Analysis. Third edition, NewYork: Harper and Row Publishers, 1973.


[8] V. Panich, Knowledge Management in the Social and Economic Knowledge Base, Bangkok: The Knowledge Management Institute, 2002. (in Thai)


[9] A. Tiwana, The knowledge Management Toolkit: Practical Techniques for Building a Knowledge Management System, New Jersey: Prentice-Hall, 2000.


[10] D. Chanchareon, "Knowledge management with Human Recourse Development," Human Resource Development Journal, vol. 2, no. 1, pp. 252-265, 2006. (in Thai)


[11] T. Roopsing, Human Resource Management, Bangkok: Textbook Publishing Center Kmutnb, 2016. (in Thai)


[12] D. C. McClelland, The Achieving Society, Princeton, NJ.: Van Nostrand, 1970.


[13] M. Spencer and M. Spencer, Competence at work : Model for superior performance, New York: Wiley, 1993.

Full Text: PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ISSN: -