Page Header

Strategies to Build Competitive Advantages of Rubber Processing Industry

Wachira Srikiew, Prapet Kraichan, Taweesak Roopsing

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานปัจจุบันของธุรกิจอุตสาหกรรมแปรรูปยางพาราตามปัจจัยส่วนประสมการตลาด 2) ศึกษาองค์ประกอบของกลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจอุตสาหกรรมแปรรูปยางพารา และ 3) พัฒนากลยุทธ์ในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจอุตสาหกรรมแปรรูปยางพารา  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ กลุ่มผู้ประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมแปรรูปยางพารา จำนวนทั้งสิ้น  300 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อกลยุทธ์เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจอุตสาหกรรมแปรรูปยางพารา ใช้วิธีวิเคราะห์ด้วยสถิติแบบค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์  ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการดำเนินงานปัจจุบันของธุรกิจอุตสาหกรรมแปรรูปยางพาราได้ให้ความสำคัญกับปัจจัยทางการตลาด อยู่ในระดับมาก มีระดับคะแนนเฉลี่ย 4.42 รองลงมาคือปัจจัยทางการแข่งขัน อยู่ในระดับมาก มีระดับคะแนนเฉลี่ย 4.17 และปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก อยู่ในระดับมาก มีระดับคะแนนเฉลี่ย 4.10  2) องค์ประกอบของกลยุทธ์เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจอุตสาหกรรมแปรรูปยางพารา มีปัจจัยที่ส่งผลต่อ กลยุทธ์เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ประกอบด้วย 2.1) ปัจจัยทางการตลาด ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย จำนวน 7 ด้าน ได้แก่  (1) ด้านผลิตภัณฑ์ (2) ด้านราคา (3) ด้านช่องทางการจำหน่าย (4) ด้านส่งเสริมการขาย (5) ด้านบุคคล (6) ด้านกระบวนการปรับปรุงสินค้า และการให้บริการ (7) ด้านลักษณะทางกายภาพ-สภาพแวดล้อมของธุรกิจ 2.2) ปัจจัยทางการแข่งขัน ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย คือ ด้านคู่แข่งขันรายใหม่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน และ 2.3) ปัจจัยทางสภาพแวดล้อมภายนอก คือ ด้านเทคโนโลยี 3) การศึกษากลยุทธ์เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจอุตสาหกรรมแปรรูปยางพารา พบว่า มี 3 กลยุทธ์สำคัญที่นำไปสร้างกลยุทธ์ ประกอบด้วย (1) กลยุทธ์ปัจจัยด้านการตลาด (2) กลยุทธ์ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมภายนอก และ(3) กลยุทธ์ปัจจัยด้านการแข่งขัน ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำกลยุทธ์เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจอุตสาหกรรมแปรรูปยางพาราไปปรับใช้ โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ที่ค่าระดับคะแนนเฉลี่ย 4.43 และความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมาก ที่ค่าระดับคะแนนเฉลี่ย 4.49

Keywords


กลยุทธ์; ความได้เปรียบการแข่งขัน; อุตสาหกรรมแปรรูปยางพารา

[1] T. Bunthong and N. Fufuangsin, "Overview of Thai Rubbers: Adaptation for Structural Changes and Challenges.," 2017. [Online]. Available: http://www.raot.co.th/ewt_dl_ link.php?nid=6750. [Accessed 20 September 2016]. (in Thai)

[2] "Rubber Research Insititute," 2018. [Online]. Available: http://rubber.oie.go.th/ImExThai ByProduct.aspx?pt=ex. [Accessed 20 September 2016]. (in Thai)

[3] W. Phetsichuang, "Rubber Industry," 2016. [Online]. Available: https://www.krungsri.Com /th/research/industry/industry-outlook/ Agriculture/Rubber/IO/io-rubber-21. [Accessed 5 September 2016]. (in Thai)

[4] T. Yamane, Statistic: An Introductory Analysis, New York: Harper and Roe Public, 1973.

[5] C. Charoensuk, "Marketing Strategy," 2014. [Online]. Available: https://maymayny. wordpress.com. [Accessed 2016 September 25]. (in Thai)

[6] E. Hamonthree, "Competitive advantage," 2015. [Online]. Available: http://ektawangm 301.blogspot.com. [Accessed 25 September 2016]. (in Thai)

Full Text: PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ISSN: -