Page Header

Development of Learning Model Based on Contemplation Education to Encourage Ethics of Industrial Technician Profession

Phramahasomkiat Wuttithammapiwat, Namon Jeerungsuwan, Pallop Piriyasurawong

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนรู้ตามแนวจิตตปัญญาศึกษาเพื่อสร้างจริยธรรมวิชาชีพ ช่างอุตสาหกรรม 2) พัฒนาชุดการเรียนรู้ตามแนวจิตตปัญญาศึกษาเพื่อสร้างจริยธรรมวิชาชีพช่างอุตสาหกรรม 3) ศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดการเรียนรู้ตามแนวจิตตปัญญาศึกษาเพื่อ สร้างจริยธรรมวิชาชีพช่างอุตสาหกรรม และ 4) ประเมินจริยธรรมวิชาชีพช่างอุตสาหกรรมหลังเรียนด้วยชุดการเรียนรู้ ตามแนวจิตตปัญญาศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคดุสิต ชั้นปีที่ 1 และปีที่ 2 หลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงที่เรียนโดยระบบทวิภาคี แผนกช่างก่อสร้าง จํานวน 33 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยค่าที และเปรียบเทียบผลการประเมินจริยธรรมวิชาชีพช่างอุตสาหกรรมหลังเรียนด้วยค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ตามแนวจิตตปัญญาศึกษาเพื่อสร้างจริยธรรมวิชาชีพช่างอุตสาหกรรม มี 3 องค์ประกอบ ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 ปัจจัยนําเข้า ประกอบด้วย จุดประสงค์ นักศึกษา ครูผู้สอน แผนการจัดการ เรียนรู้ การวัดและประเมินผล องค์ประกอบที่ 2 กระบวนการเรียนรู้ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนใหญ่ ได้แก่ (1) ขั้นเตรียม มี 2 ขั้นตอนย่อย คือ ขั้นสร้างความเมตตา ขั้นเผชิญความจริง (2) ขั้นสอน มี 4 ขั้นตอนย่อย ได้แก่ ความมุ่งมั่น ความ ต่อเนื่อง การพิจารณาอย่างใคร่ครวญ การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ (3) ขั้นสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ ได้แก่ ชุมชนแห่ง การเรียนรู้ องค์ประกอบที่ 3 การประเมินผล มีการประเมินผลจริยธรรมวิชาชีพช่างอุตสาหกรรม 3 ด้าน ได้แก่ ด้าน ความรับผิดชอบ ด้านความซื่อสัตย์ ด้านจิตอาสา และมีการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบจากผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน สรุปมีผลการประเมินในระดับเหมาะสมมากที่สุด 2) การพัฒนาชุดการเรียนรู้ตามแนวจิตตปัญญาศึกษาเพื่อสร้างจริยธรรมวิชาชีพช่างอุตสาหกรรม ประกอบไปด้วย แผนการจัดการการเรียนรู้ สื่อ ใบกิจกรรม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน และแบบ ประเมินจริยธรรม (รูบิค) 3 ด้าน ซึ่งมีผลการประเมินคุณภาพภาพของชุดการเรียนรู้ตามแนวจิตตปัญญาศึกษาเพื่อ สร้างจริยธรรมวิชาชีพช่างอุตสาหกรรม จากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน สรุป ผลการประเมินมีคุณภาพในระดับมากที่สุด 3) การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดการเรียนรู้ตามแนวจิตตปัญญาศึกษา พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ .05 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ และ 4) การประเมินจริยธรรมวิชาชีพช่างอุตสาหกรรมหลังเรียนด้วยชุดการเรียนรู้ตามแนวจิตตปัญญาศึกษา พบว่า ผลการ ประเมินสูงกว่าเกณฑ์ที่กําหนดร้อยละ 80 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Keywords


รูปแบบการเรียนรู้; จิตตปัญญาศึกษา; จริยธรรมวิชาชีพช่างอุตสาหกรรม

[1] Mongkon Ratchabutr. (2007). Affected factors of succession in dual vocational education management in the industrial technician program : a case study of vocational institutions in northeastern region area 6. Thesis Master of Industrial Technology. Surindra Rajabhat University. (in Thai).

 

[2] Cholada Thonthawee et al. (2008). Contemplative Education: Exploring and Synthesizing Basic Contemplative Education Knowledge. Nakomphathom: The Contemplative Education Center Mahidol University. (in Thai)

 

[3] Prawet Wasi. (2006). (July 15-20, 2006) "Contemplative Education Mahidol University.". Matichonweekly. (in Thai)

 

[4] Kanya Kumsiripiman. (2017). "Applying Contemplative Education to Develop Student Quality in Civic Duty Courses at Darapittayakom School, Uttaradit Provice." Journal of Education Nararesuan University, Vol.19 No.4 : 265-275. (in Thai)

 

[5] Piyarat Ihthasuk (2014). The Development of Contemplative Education-Based Instruction to Enhance Thai Learning Achievement of Prathomsuksa 6 Students. Thesis Master of Education in Curriculum and Instruction. Bansomdejchaopraya Rajabhat University. (in Thai)

 

[6] Nongluck kienngam. (2011). Health related learning behavior according to contemplative education of students in the Faculty of Education. Research Report of Chiang Mai University. (in Thai).

 

[7] Supat Settacomkul. (2013). Anactivity enhancing self-discipline of teaching Student, Rajabhatrajanagarindra University by apply contemplative education model. Doctoral of Education in Curriculum and Instruction. Burapha University. (in Thai).

 

[8] Worawut Phengphan. (2005). Analysis of values and roles of floating markets as community learning resources : a case study of Damnoensaduak floating markets in Ratchaburi. Thesis Master of Education Program in Development Education Department of Education Policy Management, and Leadership. (in Thai)

 

[9] Thana Nilchaikowitaya. (2008). Transformative learning and contemplative education. 2nd ed. Nakornphathom : The Contemplative Education Center. Mahidol University. (in Thai)

Full Text: PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ISSN: -