Page Header

การผลิตแผ่นชิ้นไม้อัดจากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
The Particleboard Manufacturing from Agricultural Waste

Nattakaporn Jarunjaruphat, Salinee Acharry

Abstract


ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก ทำให้มีวัสดุเหลือใช้ทางเกษตรเป็นจำนวนมาก แต่การนำมาใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพยังไม่มากเท่าที่ควร วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมักถูกทิ้งโดยเปล่าประโยชน์หรือทำลายโดยการเผาทิ้ง ซึ่งการเผาเศษวัสดุเหลือใช้ทางเกษตรก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศที่เป็นก๊าซเรือนกระจกส่งผลต่อภาวะโลกร้อนตามมา ซึ่งเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมระดับโลกในปัจจุบัน วิธีการแก้ปัญหาในการลดปริมาณวัสดุเหลือใช้ทางเกษตร และเป็นการเพิ่มมูลค่าวิธีหนึ่งคือ การนำไปผลิตเป็นวัสดุทดแทนไม้ เช่น การผลิตเป็นแผ่นชิ้นไม้อัด แผ่นชิ้นไม้อัดจัดเป็นผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อทดแทนไม้ธรรมชาติ โดยนำวัสดุเหลือใช้ทางเกษตรที่ให้ชิ้นไม้หรือเส้นใย เช่น ฟางข้าว แกลบ ชานอ้อย ซังข้าวโพด เป็นต้น มาผสมกับสารยึดติด สารเคลือบผิวกันซึม และสารเติมแต่งอื่นๆ ผ่านกระบวนขึ้นรูปด้วยวิธีการอัดร้อน ทดสอบสมบัติทางกายภาพและสมบัติทางกล เพื่อให้ตรงตามมาตรฐานอุตสาหกรรมเชิงพาณิชย์ ในการอัดร้อนเพื่อให้ได้แผ่นชิ้นไม้อัดที่มีคุณภาพดี ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึง ได้แก่ อุณหภูมิในการอัด ชนิดไม้และรูปร่างของชิ้นไม้ ระดับความชื้นและการกระจายความชื้นของแผ่น การถ่ายเทความร้อนภายในแผ่นระหว่างอัด ระยะเวลาในการอัด แรงดันในการอัด และการแข็งตัวก่อนหรือหลังการอัดกาว แผ่นชิ้นไม้อัดที่ได้สามารถนำมาใช้ในงานสถาปัตยกรรมภายในและงานเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ การผลิตแผ่นชิ้นไม้อัดจากเศษวัสดุเหลือใช้ทางเกษตร จึงเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิต เป็นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า โดยอาศัยองค์ความรู้ผสมผสานกับเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน เป็นการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมใหม่และส่งผลต่อการใช้ประโยชน์ทางพาณิชย์

Thailand is an important agricultural country in the world. There is a lot of agricultural waste but a little is used efficiently. Most of it is often dumped or destroyed by burning. The burning of agricultural residues causes carbon dioxide in the atmosphere as a greenhouse gas, which leads to global warming, the environmental problem of the world today. One approach to reduce agricultural residues and add value to them is to produce a wood-substitute composite like particleboards. Particleboard is a product developed to replace natural wood by mixing agricultural waste containing wood or fiber such as rice straw, rice husk, bagasse, corncob, etc. with adhesives, waterproof adhesives or other materials. It is then hot pressed and tested to determine physical and mechanical properties according to the industrial standard. Hot compression makes particleboard a good quality. Other factors are considered: temperature compression, types and shape of wood, moisture level and distribution of moisture to particleboard, heat transfer between sheets during compression, compression time, suitable compression and hardening before or after gluing of the adhesives. Particleboard can be used as furniture or in interior architecture. With knowledge and technology, the particleboard manufactured from agricultural waste can raise the quality of life as an innovative product for commercial utilization.


Keywords



Full Text: PDF

DOI: 10.14416/j.kmutnb.2018.04.002

ISSN: 2985-2145