Page Header

ห่วงโซ่อุปทานวัสดุในงานก่อสร้างของจังหวัดปราจีนบุรี
The Supply Chain of Materials in Construciton Works of Prachin Buri Province

Pichet Sooksaksun, Natinan Prangthong, Natnicha Phlabngeim

Abstract


ห่วงโซ่อุปทานของวัสดุในงานก่อสร้างที่มีลักษณะเป็นแบบชั่วคราวและรูปแบบในการทำงานก่อสร้างที่ไม่มีต้นแบบในการผลิตที่แน่นอน เป็นผลให้กระบวนการโลจิสติกส์ของวัสดุในงานก่อสร้างมีความหลากหลายและมีความเฉพาะตัวการศึกษานี้จึงได้นำเสนอรายละเอียดการดำเนินการในห่วงโซ่อุปทานของวัสดุในงานก่อสร้างในจังหวัดปราจีนบุรี โดยแสดงให้เห็นรายการกิจกรรมและระยะเวลาดำเนินการที่เกิดขึ้นระหว่างผู้รับเหมาก่อสร้างและผู้จำหน่ายวัสดุในกระบวนการซื้อขายวัสดุก่อสร้าง 3 ประเภท โดยผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าประเภทของวัสดุมีผลโดยตรงต่อระยะเวลาดำเนินการในแต่ละกิจกรรมในกระบวนการซื้อขาย นอกจากนี้ภายหลังการวิเคราะห์ระยะเวลาดำเนินการตามวิธีเส้นสายงานวิกฤติที่ได้พิจารณาถึงลำดับและความสัมพันธ์ของแต่ละกิจกรรมที่ดำเนินการระหว่างผู้รับเหมาและผู้จำหน่ายวัสดุ พบว่า ระยะเวลาดำเนินการในกระบวนการซื้อขายวัสดุในงานก่อสร้างของแต่ละฝ่ายจะได้รับผลกระทบจากการดำเนินการของอีกฝ่าย ดังนั้นในการเพิ่มประสิทธิภาพในห่วงโซ่อุปทานอาจจำเป็นที่ต้องนำรูปแบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานของภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่แต่ละหน่วยธุรกิจต้องเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานของหน่วยธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องมาประยุกต์ใช้ นอกจากนี้การศึกษาห่วงโซ่อุปทานหรือการบริหารจัดการเวลาในกระบวนการโลจิสติกส์ควรต้องคำนึงถึงประเภทหรือลักษณะของวัสดุที่จะศึกษาพร้อมกับประสิทธิภาพในการดำเนินการของแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวเนื่อง

The supply chain of construction work materials in non-permanent forms and the construction process that has no absolute typical processes results in diverse and unique logistics processes. This study presents the implementation of the supply chain for construction materials in Prachin Buri province in Thailand. Included in the discussion is a list of activities and the time frame that occurred between the contractor and material supplier regarding 3 types of construction material trading. The results revealed that the type of material directly affected the time employed for each activity. In addition, the critical path method analysis, which considered the sequence and relationship among activities, demonstrated that the amount of time that each party employed was influenced by the performance of the other party. Therefore, in increasing the efficiency of the supply chain, it might be necessary to adopt the supply chain management model from the manufacturing industry, where each party is involved in the operations of the other relevant parties. Furthermore, studying the supply chain or scheduling of the logistics process should take into account the type or nature of materials in conjunction with the efficiency of each party involved.


Keywords



Full Text: PDF

DOI: 10.14416/j.kmutnb.2018.05.001

ISSN: 2985-2145