Page Header

แนวทางการพัฒนาดาวเทียมสำหรับประเทศไทย: ประสบการณ์จากโครงการดาวเทียมแนคแซท
Directions in Satellite Development for Thailand: Experiences from KNACKSAT Project

Suwat Kuntanapreeda

Abstract


ปัจจุบันเราใช้ประโยชน์จากดาวเทียมอย่างมหาศาลและไม่รู้ตัว เช่น การใช้โทรศัพท์มือถือ การใช้งานอินเทอร์เน็ตการถ่ายทอดสดรายการโทรศัพท์ การพยากรณ์อากาศการเฝ้าระวังภัยธรรมชาติ และอื่นๆ อีกนับไม่ถ้วน จากที่เคยพูดกันว่ารถยนต์เป็นปัจจัยที่ 5 ของการดำรงชีพ ปัจจุบันอาจจะไม่จริงต่อไปแล้ว เราลองจินตนาการง่ายๆ ว่า ถ้าวันนี้ดาวเทียมทุกดวงหยุดการทำงานขึ้นมา การใช้ชีวิตประจำวันจะเปลี่ยนไปอย่างไร ตัวอย่างเช่น ปัจจุบันคนส่วนหนึ่ง (และอาจจะเป็นส่วนใหญ่ด้วย!) ทั้งในสังคมเมืองและสังคมชนบทใช้โทรศัพท์มือถือในการติดต่อสื่อสาร ถ้าดาวเทียมหยุดการทำงานในวันนี้ เราจะไม่สามารถติดต่อสื่อสารด้วยโทรศัพท์มือถือได้ การติดต่อสื่อสารเมื่อเราอยู่นอกบ้าน ก็คงต้องกลับไปสู่ระบบตู้โทรศัพท์สาธารณะข้างถนน (ไม่ว่าจะตู้สีแดงหรือสีฟ้าซึ่งเด็กรุ่นใหม่ๆ อาจจะไม่รู้จักแล้ว) ปัจจุบันคนในสังคมเมืองใช้Google Map ในการศึกษาจราจรขณะขับรถบนท้องถนนถ้าดาวเทียมจีพีเอสหยุดการทำงาน เราก็ไม่สามารถใช้ Google Map ได้ วิถีชีวิตบนท้องถนนคงเปลี่ยนไปมากพอสมควรอีกตัวอย่างหนึ่งที่ใกล้ตัวเรามากจนอาจจะลืมไปว่าเรากำลังใช้งานประโยชน์จากดาวเทียมอยู่คือ การดูการถ่ายทอดสดรายการข่าวและกีฬาต่างๆ จากรอบโลก ถ้าไม่มีดาวเทียมทำหน้าที่ถ่ายทอดสัญญาณแล้ว เราจะยังสามารถดูการถ่ายทอดสดได้หรือไม่ ซึ่งคงคาดเดาได้ยากว่าจะมีเทคโนโลยีใหม่อะไรที่ไม่เกี่ยวข้องกับดาวเทียมมาทดแทนได้บ้าง เป็นต้น ปัจจุบันประเทศไทยมีดาวเทียมทั้งหมด 10 ดวง ประกอบด้วย ดาวเทียมไทยคม 1–8 ดาวเทียมไทพัฒ และดาวเทียมไทยโชต (หรือดาวเทียมธีออส) ดาวเทียมของประเทศไทยดวงแรกคือ ไทยคม 1 ซึ่งถูกส่งขึ้นวงโคจรในวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2536 หรือเมื่อเกือบ 25 ปีที่แล้วดาวเทียมไทยคม 1–8 เป็นดาวเทียมสื่อสารที่ประเทศไทยจัดซื้อมาเพื่อใช้งานในเชิงพาณิชย์เป็นหลักดาวเทียมไทพัฒเป็นดาวเทียมที่ออกแบบและจัดสร้างโดยบุคลากรของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเซอร์เรย์ ประเทศอังกฤษ ถือว่าเป็นดาวเทียมไทยดวงแรกที่มีทีมบุคลากรไทยเข้าไปร่วมการออกแบบและจัดสร้าง ดาวเทียมไทพัฒถูกส่งขึ้นวงโคจรในวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 ส่วนดาวเทียมไทยโชตเป็นดาวเทียมสำรวจทรัพยากรดวงแรกของไทย ถูกส่งขึ้นวงโคจรในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 เป็นดาวเทียมอยู่ภายใต้การดำเนินงานของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศอย่างไรก็ตาม ดาวเทียมทั้งหมดข้างต้นไม่ได้ถูกออกแบบและสร้างในประเทศไทย ซึ่งเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยยังไม่มีองค์ความรู้ที่เพียงพอในการออกแบบและพัฒนาดาวเทียมเป็นของประเทศเองโครงการดาวเทียมแนคแซท (KNACKSAT, ย่อมาจาก King Mongkut’s University of Technology North Bangkok Academic Challenge of Knowledge SATellite) เป็นโครงการออกแบบและจัดส่งดาวเทียมขนาดเล็กเพื่อการศึกษา ดาวเทียมแนคแซทเป็นดาวเทียมสัญชาติไทยดวงแรกที่ออกแบบและสร้างในประเทศไทย มีกำหนดการถูกส่งขึ้นวงโคจรภายในกลางปี พ.ศ. 2561

Keywords



Full Text: PDF

ISSN: 2985-2145