Page Header

Risk Assessment by the Fault Tree Analysis (FTA) and Analytic Hierarchy Process (AHP) of Infectious Waste Management in Health Promoting Hospital

Pimpa Buapim, Arroon Ketsakorn

Abstract


งานวิจัยนี้มีรูปแบบการศึกษาที่จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง (Cross-sectional Study) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงโดยบูรณาการกระบวนการวิเคราะห์ต้นไม้แห่งความล้มเหลว (Fault Tree Analysis) และกระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น (Analytic Hierarchy Process) ของการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี จำนวน 8 แห่ง ช่วงเวลาในการศึกษาเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2560–เมษายน พ.ศ. 2561 การจัดการมูลฝอยติดเชื้อในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมีลักษณะการทำงาน 4 กระบวนการ คือ 1) การคัดแยกมูลฝอยติดเชื้อ 2) การเก็บมูลฝอยติดเชื้อ 3) การขนย้ายมูลฝอยติดเชื้อ และ 4) การกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ โดยใช้เครื่องมือกระบวนการวิเคราะห์ต้นไม้แห่งความล้มเหลวและกระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้นมาพิจารณาหาค่าน้ำหนักความสำคัญของการเกิดเหตุการณ์อันตรายเพื่อใช้ในการประเมินความเสี่ยงผลการวิจัย พบว่ามี 4 กระบวนการ คือกระบวนการคัดแยกมูลฝอยติดเชื้อ กระบวนการเก็บมูลฝอยติดเชื้อ กระบวนการขนมูลฝอยติดเชื้อ และกระบวนการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อมีระดับความเสี่ยงอยู่ในระดับสูงมากในกิจกรรมการไม่ปฏิบัติตามวิธีการทำงานมี 3 กระบวนการ คือ กระบวนการคัดแยกมูลฝอยติดเชื้อ กระบวนการขนมูลฝอยติดเชื้อ และกระบวนการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อมีระดับความเสี่ยงอยู่ในระดับสูงในกิจกรรมการไม่มีภาชนะในการคัดแยกมูลฝอยติดเชื้อ การใช้ยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อไม่เหมาะสม และเตาเผาที่ใช้ในกำจัดมูลฝอยติดเชื้อไม่มีการควบคุมอุณหภูมิในการเผาตามลำดับ และระดับความเสี่ยงอยู่ในระดับปานกลาง คือ ไม่มีผู้กำกับการดูแลปฏิบัติงาน ได้แก่ กระบวนการคัดแยกมูลฝอยติดเชื้อ กระบวนการเก็บมูลฝอยติดเชื้อ กระบวนการขนมูลฝอยติดเชื้อ และที่พักมูลฝอยติดเชื้อไม่มีอาคารเก็บรวบรวมเฉพาะมีลักษณะง่ายต่อการแพร่เชื้อของกระบวนการเก็บมูลฝอยติดเชื้อ การวิจัยนี้แสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ต้องได้รับความร่วมมือของบุคลากรในการป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นในการทำงาน ตลอดจนผู้บริหารต้องมีนโยบาย และมาตรการในการจัดการความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน

The purpose of this cross-sectional study was to integrate the fault tree analysis and analytic hierarchy process for assessing the medical waste management practices and associated risk perceptions in eight health promoting hospitals in NongKhae, Saraburi province. A cross-sectional study was conducted during July 2017 to April 2018. The 4 stages of treating medical waste consist of segregation; storage; transportation; and disposal of health-care waste. The fault tree analysis and analytic hierarchy process technique were used for determining the relative weight of hazard probability of occurrence. Very high potential risks are found on all the 4 dimensions whereas non-compliance with standard procedures occurs in 3 categories: the segregation, transportation and disposal of infectious waste. These aspects of medical waste handling processes were analyzed and determined in high-risk levels: lack of containers for infectious waste separation; improper vehicles and means of waste conveyance; and waste incinerators’ insufficient control of temperature during the burn. The moderate risk level was determined in these aspects: infectious waste separation, storage, and transportation, as well as absence of sufficient supervision and lack of specific storage areas for avoiding contamination and the spread of pathogenic microorganisms. To sum up, treatment and disposal of healthcare waste may pose health risks. The governing board and management of health promoting hospitals should establish safety measures for infectious waste treatment in order to efficiently address the risks that are likely to arise from routine operational procedures.


Keywords



Full Text: PDF

DOI: 10.14416/j.kmutnb.2019.04.003

ISSN: 2985-2145