Page Header

การเปรียบเทียบวิธีกำหนดปริมาณสั่งซื้อสำหรับสินค้าที่ปริมาณความต้องการไม่สม่ำเสมอของร้านค้าปลีกอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์
Comparing Lot Sizing Techniques for Unstable Demand Inventory of a Hardware Retailer

Sunitiya Thuannadee, Thunyaporn Lekdee, Marisa Sarajan, Wanvisa Kaensanthia, Wanwimon Phracharoen

Abstract


วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้คือการเปรียบเทียบต้นทุนสินค้าคงคลังของร้านค้าปลีกอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ของการกำหนดปริมาณสั่งซื้อสินค้าด้วยวิธี Wagner-Whitin และวิธีฮิวริสติกกับต้นทุนจริงของร้าน วิธีฮิวริสติกที่ศึกษาคือ วิธี Part-Period Balancing, Silver-Meal และ Least Unit Cost โดยศึกษาเฉพาะสินค้ากลุ่ม A ที่ซื้อจากผู้ขาย 3 ราย กำหนดให้มีการสั่งซื้อสินค้าแต่ละรายการแยกจากกัน ข้อมูลนำเข้าคือปริมาณความต้องการสินค้ารายสัปดาห์ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงธันวาคมพ.ศ. 2560 นอกจากนั้นมีการบันทึกต้นทุนสินค้าคงคลังที่เกิดขึ้นจริงของร้านเพื่อใช้เปรียบเทียบกับต้นทุนสินค้าคงคลังของวิธีกำหนดปริมาณสั่งซื้อแบบต่างๆ ปริมาณความต้องการรายสัปดาห์ของสินค้าทุกรายการมีค่าสัมประสิทธิ์ความแปรผันที่มากกว่า 0.20 แสดงถึงปริมาณความต้องการที่ไม่สม่ำเสมอ วิธีฮิวริสติกมีต้นทุนสินค้าคงคลังต่ำกว่าต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงของร้านสำหรับสินค้าทุกรายการ ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการใช้วิธีฮิวริสติกแทนที่จะใช้วิธี Wagner-Whitin ซึ่งเป็นวิธีที่ให้ต้นทุนสินค้าคงคลังต่ำที่สุดนั้นเฉลี่ยแล้วไม่เกิน 8% ต้นทุนสินค้าคงคลังเฉลี่ยของวิธี Silver-Meal ต่ำสุดในกลุ่มวิธีฮิวริสติกแต่ต้นทุนเฉลี่ยของวิธีฮิวริสติกแตกต่างกันไม่เกิน 3%

The objective of this research is to compare inventory costs of the optimum Wagner-Whitin algorithm and heuristic methods with the actual inventory costs of a hardware retailer. The selected heuristic methods for this study were Part-Period Balancing, Silver-Meal Heuristic, and Least Unit Cost. Class A products purchased from three major vendors were chosen for this study and single-item ordering was assumed. The weekly demands from July to December 2017 were used as the input. Also, the retailer’s actual inventory costs during this period were determined for comparing with inventory costs of selected lot sizing techniques. Weekly demands of every item under study had coefficient of variation greater than 0.20 demonstrating the unstable demands. The results showed that heuristic methods had lower inventory costs than the actual costs for every item in the study. The average cost penalty for using the heuristic methods instead of the optimal Wagner-Whitin algorithm was less than 8%. The overall average inventory cost of Silver-Meal method was the least among the heuristic methods; however, the difference of the average costs among heuristic methods did not exceed 3%.


Keywords



Full Text: PDF

DOI: 10.14416/j.kmutnb.2019.03.009

ISSN: 2985-2145