Page Header

การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการธุรกิจศูนย์การค้าที่สอดคล้องกับเศรษฐกิจชุมชน
Model Development of Shopping Center Business Management in Congruence to the Community Economy

Roongrat Sroingern, Supatta Pinthapataya, Teravuti Boonyasopon, Preeda Attavinijtrakarn

Abstract


งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารจัดการศูนย์การค้าที่สอดคล้องกับเศรษฐกิจชุมชน 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศูนย์การค้าที่สอดคล้องกับเศรษฐกิจชุมชน และ 3) เพื่อพัฒนาคู่มือแนวทางการบริหารจัดการศูนย์การค้าที่สอดคล้องกับเศรษฐกิจชุมชน ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสานเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ประชากรในการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ ผู้บริหารธุรกิจศูนย์การค้าและผู้นำชุมชน การประชุมสนทนากลุ่ม ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิในด้านธุรกิจ นักวิชาการ และผู้ประกอบการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ ผู้บริหารธุรกิจศูนย์การค้าผู้จัดการ พนักงานและผู้ประกอบการร้านค้าในธุรกิจศูนย์การค้า เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคุณภาพ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา เครื่องมือที่ในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ แบบสอบถามและแบบประเมินคู่มือวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการบริหารจัดการธุรกิจศูนย์การค้าที่สอดคล้องกับเศรษฐกิจชุมชน ประกอบด้วย มิติที่ 1 ด้านการบริหารองค์กรธุรกิจ มี 8 องค์ประกอบ มิติที่ 2 ด้านการสนับสนุนชุมชน มี 2 องค์ประกอบ คู่มือแนวทางการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการธุรกิจศูนย์การค้าที่สอดคล้องกับเศรษฐกิจชุมชน มี 2 ส่วนที่ 1 แนะนำการใช้คู่มือ ส่วนที่ 2 แนวทางการบริหารจัดการธุรกิจศูนย์การค้าที่สอดคล้องกับเศรษฐกิจชุมชน ประกอบด้วย หมวดที่ 1 การบริหารองค์กรธุรกิจ และหมวดที่ 2 การสนับสนุนชุมชน รูปแบบและคู่มือแนวทางการบริหารจัดการธุรกิจศูนย์การค้าที่สอดคล้องกับเศรษฐกิจชุมชน ได้รับความเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิในการประชุมสนทนากลุ่มด้วยมติเป็นเอกฉันท์ คู่มือแนวทางการบริหารจัดการธุรกิจศูนย์การค้าที่สอดคล้องกับเศรษฐกิจชุมชนได้รับการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญด้านความเหมาะสมของเนื้อหาและสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อจัดการความรู้ด้านศูนย์การค้าที่สอดคล้องกับเศรษฐกิจชุมชนได้

The purposes of this research were: 1) to study the elements of the shopping center management model in congruence to the community economy, 2) to create and develop a shopping center management model in congruence to the community economy, and 3) to develop a guideline for shopping centers management in congruence to the community economy The research was a mixed method of qualitative and quantitative approach. The research populations were the business executives of shopping centers, managers, employees and customers. The tools used in the qualitative research were in-depth interview and focus group. The data were analyzed by content analysis. The tools used in the quantitative study were questionnaires and manual assessments forms. The quantitative data were analyzed by using statistics of frequency, standard deviation, and exploratory factor analysis. The results showed two dimensions. The first dimension: Business Organization Management which comprised 8 components. The second dimension: Community Support which consisted of 2 components. The model and the guideline manual were approved by the expert in the focus group meeting with a consensus agreement. The manual was evaluated by the experts for its appropriateness in application.


Keywords



Full Text: PDF

DOI: 10.14416/j.kmutnb.2020.03.003

ISSN: 2985-2145